ร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากผู้ประกอบการร้านค้าภายในศูนย์อาหารของกระทรวงยุติธรรม

อาคารรัฐสภา นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวกรณีที่ได้รับหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากผู้ประกอบการร้านค้าภายในศูนย์อาหารของกระทรวงยุติธรรม

เมื่อวันที่ 18 ก.ค.65  กรณีบริษัท ทาร์ปอน แมเนจเม้นท์ จำกัด มีนายชัชวาลย์  ชินะโปดก เป็นเจ้าของและกรรมการฐานะผู้บริหารงานศูนย์อาหารของกระทรวงยุติธรรม มีพฤติกรรมโฆษณาชวนเชื่อและหลอกลวงเพื่อให้ผู้ที่สนใจมาร่วมลงทุนเช่าพื้นที่ขายอาหารภายในศูนย์อาหารของกระทรวงยุติธรรม และเมื่อทำสัญญาแล้วกลับพบปัญหาต่าง ๆ เช่น จำนวนผู้ที่มาใช้บริการไม่เป็นไปตามที่โฆษณา มีการข่มขู่ผู้เช่า ทำให้ได้รับความเสียหายนั้น

ต่อมาวันที่ 20 ก.ค.65 นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกกระทรวงยุติธรรม ได้ออกคำแถลงข่าวชี้แจงว่า กระทรวงยุติธรรมไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้หารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ร้องจนเข้าใจและคลี่คลายได้ในระดับหนึ่ง โดยผู้ร้องส่วนใหญ่ ได้รับข้อเสนอของบริษัทฯ เนื่องจากสามารถบรรเทาความเดือดร้อนได้ ในส่วนที่ผู้ร้องบางรายขอให้กระทรวงยุติธรรมช่วยเหลือจัดหาทนายความให้แก่กลุ่มผู้ร้องนั้น จะได้รับคำขอของผู้ร้อง เพื่อพิจารณาดำเนินการในการปรับปรุงการให้บริการต่อไป และจะตรวจสอบมาตรฐานการจัดการ พื้นที่ภายในศูนย์อาหารฯ อาทิ เรื่องความสะอาด สภาพปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้พื้นที่ที่ไม่เป็นธรรม และจัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้บริการศูนย์อาหารฯ ของผู้บริโภค และผู้ประกอบการร้านอาหารด้วยนั้น

นายวัชระ กล่าวว่า จากคำชี้แจงดังกล่าวของกระทรวงยุติธรรมนั้น ยังไม่เป็นที่พอใจของกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าบางราย เนื่องจากหลงเชื่อโฆษณาชวนเชื่อหลอกลวงและเกินความจริงในสื่อโซเซียล เพื่อให้มาลงทุนจำหน่ายอาหารภายในกระทรวงยุติธรรม ในเรื่องจำนวนพนักงานและเวลาในการจำหน่ายสินค้า ทำให้ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
มีบางรายเสียหายถึง 3แสนบาท จึงต้องการขอคืนเงินแรกเข้าที่จ่ายให้กับบริษัทที่ได้รับสัมปทานเข้ามาบริหารศูนย์อาหาร ภายในกระทรวงยุติธรรม จำนวน75,000 บาท และร้องเรียนเงินเยียวยา จากกระทรวงกรณีค่าเสียเวลาและเงินลงทุนในการจัดซื้อวัตถุดิบในจำหน่ายอาหารที่ไม่ได้รับกำไรจากการลงทุน ทั้งนี้ ในข้อแถลงดังกล่าวยังไม่เป็นความจริงหลายข้อคือ
1. เรื่องที่แถลงเป็นเรื่องเก่าที่เคยเจรจาแล้ว แต่ไม่ได้รับการแก้ไขและยังไม่ได้รับค่าเสียหายที่ร้องเรียนไป
2.  ทางกระทรวงยังไม่ได้มาเจรจากับผู้เสียหายหลังจากยื่นเอกสารร้องเรียนไปในครั้งล่าสุด
3.  ข้อชี้แจงที่ว่ากระทรวงไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ปัญหา แต่ทางผู้เสียหายได้ยื่นข้อร้องเรียนไปตั้งแต่ ส.ค. 2564 จนถึงปัจจุบัน ก็ยังดำเนินการแก้ปัญหาไม่เสร็จเรียบร้อย
4.  ทางผู้เสียหายร้องเรียนในเรื่องการขอเงินคืน แต่ได้รับการแก้ปัญหา จำนวน 1 รายเท่านั้น และ ยังคืนเงินไม่ครบตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับกระทรวงและบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากกระทรวง
5. ผู้เสียหายไม่เคยร้องเรียนเรื่องความสะอาดของกระทรวง ซึ่งไม่ตรงประเด็นที่ร้องเรียนไป
6. ในการยื่นเอกสารร้องเรียนไปทุกครั้งไม่เคยได้รับคำตอบที่ชัดเจน หรือเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะมีการดำเนินการอย่างไรจากกระทรวง
7.  ในเอกสารร้องเรียน ทางผู้เสียหายระบุชัดเจนว่าขอเงินแรกเข้าทั้งหมดคืนจากบริษัทที่ได้สัมปทานจากกระทรวง แต่ในกรณีนี้กระทรวงไม่เคยกล่าวถึงแต่อย่างใด

You may have missed