หอการค้าไทย-จีน เผยดัชนีเชื่อมั่นศก.ไทยปี ’64 โต 2.5-3.5%
ศก.จีนโตหนุนนักท่องเที่ยวมาไทยเพิ่ม-การค้าโลกผ่อนคลาย
หอการค้าไทย-จีน เปิดผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยปี 2564 กว่า 41.% คาดว่าเศรษฐกิจไทยโต 2.5-3.5 %
โดยเศรษฐกิจจีนจะกลับมาฟื้นตัวสูงและมีส่วนขับเคลื่อนศก.ไทย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน
พร้อมกลับมามากขึ้นขณะที่สถานการณ์การค้าโลกผ่อนคลาย หลังสหรัฐฯได้ประธานาธิบดีคนใหม่ สอดรับ IMF ที่ประเมินศก.จีน และไทยโต 8.2% และ 4% ตามลำดับ ปูพรมเปิดความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) สร้างเครือข่ายอำนวยความสะดวกสร้างเส้นทางการค้า-ลงทุนในอนาคต
นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า หอการค้าได้จัดทำดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย-จีน ไตรมาส 1/2564 ซึ่งสำรวจจากความเห็นของคณะกรรมการหอการค้าไทย-จีนเครือข่ายสมาพันธ์หอการค้าไทย-จีน สมาคมธุรกิจต่างๆของจีน กว่า 60 สมาคมฯ รวมทั้งนักธุรกิจรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ และชาวจีนโพ้นทะเล ผ่านการประมวลผลข้อมูล Google Survey From โดยแบบสอบถาม ประกอบดว้ ย 4 ส่วน คือ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทย-จีน 2) ตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจไทย 3) ตัวชี้วัดปัจจัยเกื้อ หนุน และ/4) ประเด็นเฉพาะกิจ หรือเหตุการณ์ โดยพบว่า 61.5 % ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มั่นใจว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตสูงขึ้นสอดคล้องกับสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในประเทศจีน เนื่องจากจีนสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี
ขณะที่ 50 % ของผู้ถูกสำรวจต่างคาดการณ์ จะมีนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น และ แนวโน้มนักท่องเที่ยวจากจีน
น่าจะเริ่มกลับมายังประเทศไทยอีกครั้ง และกล่าวได้ว่าการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจจีนนั้น น่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยพลิกฟื้นได้ ในไตรมาสท่ีหนึ่งปี 2564 ซึ่งสอดคล้องกับการประเมิน
ของกองทนุการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ที่คาดการณ์ว่าปี 2564 เศรษฐกิจโลกจะกลับมาฟื้นตัวราว5.2%ส่วนเศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 8.2% และเศรษฐกิจไทย จะขยายตัวที่ 4.0%
สำหรับมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจไทย พบว่าผลสำรวจ 44.1 % คาดการณ์ว่าอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะโตน้อยกว่า 2.5 % และ 41.3 % คาดว่าเศรษฐกิจ ไทยจะโตอยู่ระหว่าง 2.5-3.5 % เนื่องจากผลสำรวจ สัดส่วน 43.3 % มองว่าเศรษฐกิจการค้าการลงทุนของไทยโดยรวมในไตรมาสแรกของปี 2564 โดยเฉพาะในภาคธุรกิจพาณิชย์ อิเล็กทอนิกส์ สินค้าเกษตร บริการโลจิสติกส์ บริการสุขภาพ และ สินค้าเกษตรแปรรูป จะเป็นแรงขับเคลื่อน เศรษฐกิจไทย ขณะที่อุตสาหกรรมที่ต้องเผชิญกับความท้าทาย ได้แก่ อตุสาหกรรมการท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง และ อุตสาหกรรมการผลิตเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องมีมาตรการการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อให้เกิดการกระตุ้นการขับเคลื่อนของธุรกิจดังกล่าว
ทั้งนี้ในความเคลื่อนไหวทางด้านการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ 46.7% คาดการณ์ว่าไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีแนวโน้ม ปรับตัวดีขึ้นในส่วนอัตราแลกเปลี่ยน กลุ่มสำรวจ 70 % มองว่าผู้ค้ากับต่างประเทศต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงของค่าเงินบาท ที่อาจจะมีทิศทางแข็งค่ามากขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส4/2563 อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยอาจจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 6เดือน ในการฟื้นตัวกลับมาดีขึ้น แม้ว่าจะมีการค้นพบวัคซีนก็ตาม
นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า จากผลการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา ที่ได้ นายโจ ไบเดน เป็น ประธานาธิบดีคนใหม่ เชื่อว่าจะทำให้ความขัดแย้งระหว่างประเทศสหรัฐและจีนผ่อนคลายลง ซึ่ง กลุ่มสำรวจใน 70 % เห็นว่าความชัดเจนดังกล่าว จะส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของระหว่างสองประเทศทำให้การค้าโลกผ่อนคลายมากขึ้นที่จะมีส่วนทำให้ไทยได้รับผลดีตามไปด้วย ในช่วงครึ่งปีแรกของปี2564 อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใก้ลชิดของนักลงทุน โดยเฉพาะสถานการณ์ทางการเมืองไทย และมาตรการผ่อนปรนของรัฐบาลในการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
มูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีน ในรอบ 10 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค.-ต.ค. 2563) มีมูลค่า รวมทั้งสิ้น 64,763 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ คิดเป็น17.89%ของมูลค่าการค้า รวมของไทยโดยมีการส่งออกไปยังประเทศจีนมูลค่า 24,542 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 2.7% คิดเป็น12.76% ของการส่งออกของไทย นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริม และอำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับสมาชิก หอการค้าไทย-จีนได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างหอการค้าไทยจีน กับ ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่ง จะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมลู ข่าวสารทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ และ โอกาสทางธุรกิจ รวมถึงการเข้าถึงการบริการของธนาคารแห่งประเทศจีนทั่วโลก