เกษตรหนุน หยุดเผา – ลดฝุ่น – ลดโลกร้อน สู่เกษตรไทยไร้ของเสีย

 

วันนี้ (9 มีค 63) นายอลงกรณ์ พลบุตร
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีเปิดงาน รณรงค์หยุดเผาในพื้นที่การเกษตร – ตัดอ้อยสด ลดมลพิษ ณ แปลงเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกอ้อยแปลงใหญ่ บ้านหนองผักหนาม ตำบลหลังใน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

จากสถานการณ์ ฝุ่นควัน PM 2.5 และข้อมูลสถานการณ์ฝุ่นที่เกินค่ามาตรฐาน ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน และทำให้สภาพอากาศในประเทศไทยเลวร้ายติดอับดับต้นๆของโลก การเผาในการเกษตร ซึ่งมักนิยมทำเพื่อใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย หรือการเผาตอซัง เพื่อเตรียมแปลงเพาะปลูก เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว ทั้งเป็นการสร้างฝุ่น ทั้ง PM10 PM5 และ PM 2.5 นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดเขม่าลอยในอากาศตกลงมาเป็น หิมะดำ ปนเปื้อนลงในสิ่งแวดล้อม และเป็นการเพิ่มแก๊สเรือนกระจก ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และการเผายังทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรลดปริมาณลง ส่งผลต่อเกษตรกร

เพื่อลดการเผาในภาคการเกษตร (Argiculture Burnning controlled) และเร่งยกระดับการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน ลดปัญหาการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในช่วงฤดูแล้งซึ่งเกิดจากการเผาเพื่อเก็บเกี่ยวอ้อยรวมทั้งตอบสนองต่อนโยบายการแก้ไขปัญหาอันเป็นแผนขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562

ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนนอกจากนี้แล้วการเผาเพื่อเก็บเกี่ยวอ้อยยังเป็นการทำให้ดินเสื่อมโทรมขาดความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการลดลงมากกว่า 50 ครั้งในจังหวัดต่างๆ มีเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 81,207 รายที่ได้ เข้าร่วมโครงการดังกล่าวพร้อมทั้งได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการทำการเกษตรที่ปลอดการเผา และการนำวัสดุการเกษตรที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว เพื่อนไปทำประโยชน์อย่างอื่น เช่น การทำปุ๋ยหมัก หรือนำไปใช้เป็นพืชผลิตพลังงาน

นายอลงกรณ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามนโยบายของรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน ซึ่งในปีนี้เป็นปีแห่งการขับเคลื่อนเกษตร 4.0 และเกษตรอัจฉริยะ โดยผ่านทางกลไกของศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรม (A.I.C) ซึ่งจะเป็นการนำเทคโนโลยี และวิทยากรใหม่ๆ ไปสู่เกษตรกรโดยตรงด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และตัวเกษตรกร ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงวิถีการทำเกษตร ลดความสูญเปล่าและสูญเสียตลอดกระบวนการผลิต และสร้างประโยชน์สูงสุด ไม่ให้เหลือของเสียเปล่าในระบบการผลิต (Zero Waste) ด้วยการใช้เทคโนโลยีการเกษตร เกษตรกรรมแม่นยำ การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร และระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธภาพ โดยในการนี้อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง และได้รับความร่วมมือบูรณาการจากจังหวัดสระแก้วโดยนายวรพันธ์ุ สุวัณณุสส์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งหน่วยงานภาคเอกชนในอุตสาหกรรมอ้อยและนำ้ตาล ตลอดจนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจน และยกระดับภาคการเกษตรไทยในฐานะเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตร อันดับที่ 12 ของโลก ให้กลายเป็นผู้เล่นระดับโลกอย่างแท้จริงทั้งระบบ

You may have missed