กอ.รมน. – วช. ส่งมอบผลสำเร็จงานวิจัยและนวัตกรรม แก้ปัญหาภัยแล้งให้กับชุมชนมุกดาหาร ดำเนินการโดย ม.ราชภัฏสกลนคร

วันนี้ (วันที่ 30 พฤษภาคม 2565) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร​ (กอ.รมน.)​ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
และ​ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและยกระดับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ​โดย พล.ท.อุดม
โกษากุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กอ.รมน.​ และ​ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประธานกล่าวเปิดงานพิธีส่งมอบนวัตกรรมให้แก่พื้นที่​ ตำบลเหล่าหมี จังหวัดมุกดาหาร และ ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน หัวหน้าโครงการวิจัย นายวลัยพรรณ น้อยสันเทียะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร และ นายทักษิณ สุวรรณไตรย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสยามกลการ 4 ให้การต้อนรับ โดยมีหัวหน้ากลุ่มตัวแทนวิสาหกิจทั้ง 8 กลุ่ม พร้อมด้วยสื่อมวลชน ให้เกียรติเข้าร่วมงาน ณ โรงเรียนสยามกลการ 4 ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร กิจกรรมดังกล่าวเป็นผลสำเร็จของการดำเนินงานในโครงการวิจัย เรื่อง “การแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม” ซึ่งมี ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย

พล.ท.อุดม โกษากุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กอ.รมน. กล่าวว่า​ โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1​กอ.รมน. เป็นหน่วยงานที่พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ ต.เหล่าหมี​ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร แห่งนี้เพื่อดำเนินโครงการนี้ และได้ส่งให้ทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้พิจารณาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ด้วยวิจัยและนวัตกรรม มีการติดตามการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการ จากสนับสนุนของส่วนราชการต่าง​ ๆ ในจังหวัดมุกดาหาร กิจกรรมการส่งมอบผลงานวิจัยและนวัตกรรมในโครงการเรื่อง “การแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม” นี้ เป็นกิจกรรมในรูปแบบขยายผลองค์ความรู้จากผลงานงานวิจัยและนวัตกรรม​ โดย วช. ให้การสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์ไปถ่ายทอดขยายผลเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้นสนับสนุนผลผลิตการวิจัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. เป็นหน่วยงานภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
มีภารกิจหลักในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่นักวิจัย หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม ในประเด็นสำคัญของประเทศ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งสหสาขาวิชาการ โดยมุ่งเน้นผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาได้จริงอย่างทันท่วงที ทั้งเชิงวิชาการ เชิงเศรษฐกิจ เชิงสังคมชุมชน และเชิงนโยบาย เพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาและแก้ปัญหาเร่งด่วนที่สำคัญปัญหา​ภัยแล้ง​เป็นปัญหา​เร่งด่วน​ที่จะต้องได้รับการแก้ไข ในการบูรณาการขับเคลื่อนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง วช. และ กอ.รมน . โดยมี​ ม.​ราชภัฏ​สกลนคร​ ในการลงพื้นที่​ การนำประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ชุมชนต้นแบบด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมผ่านกลไกการดำเนินงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง​ มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมในการสนับสนุนงานเสริมสร้าง ความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางสังคม ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พลังงาน และอาหาร รวมถึงความมั่นคงเชิงพื้นที่ ตลอดจนเพื่อนำการวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในการปฏิบัติและการถ่ายทอดสู่ศูนย์เรียนรู้ของเครือข่ายปราชญ์เพื่อความมั่นคง เครือข่ายพื้นที่ชุมชนนำไปสู่ชุมชนที่มีศักยภาพ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยรูปแบบการขยายผลองค์ความรู้จากผลงานงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตจากผลสำเร็จนำไปสู่การส่งมอบผลงานวิจัยและนวัตกรรมในโครงการวิจัย เรื่อง “การแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม” วช. ให้การสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ได้ โรงเรือนแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐาน อย. และสถานีสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์จากความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานในการขยายผลองค์ความรู้จากผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมร่วมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาโดยผสานความรู้ร่วมผนึกกำลังสู่การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในพื้นที่และเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ วช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนและเป็นต้นแบบการทำงานวิจัยแบบบูรณาการให้กับนักวิจัยเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนทุนในการวิจัยในการดำเนินงานในเรื่องของ การแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม และ การพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการเกษตรโดยใช้เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับชุมชนสังคม ซึ่งเป็นการสนับสนุนสถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้จากงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมถ่ายทอดขยายผลเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้นโดยกลไกบูรณาการเชิงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานพัฒนาหน่วยงานภาคปฏิบัติในพื้นที่ และหน่วยงานร่วมขยายผลสนับสนุนผลผลิตการวิจัย วช. ร่วมกับ กอ.รมน.และ​ม.ราชภัฏสกลนคร ได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้การใช้พลังงานทดแทนในการสูบน้ำเพื่อการเกษตรโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ แก่กลุ่มเป้าหมายมาแล้วมากกว่า 50 ชุมชน ดังนั้น ทางคณะผู้วิจัยร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จึงเสนอโครงการ “การแก้ปัญหาภัยแล้งและยกระดับผลผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม”
การแก้ปัญหาภัยแล้งและการบริหารจัดการน้ำศักยภาพผลผลิตทางการเกษตร ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนในการถ่ายทอดและส่งมอบนวัตกรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐานสู่การสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ในพื้นที่ บ้านเหล่าหมี บ้านนาซิง และบ้านนายอ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร โดยการนำนวัตกรรม รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบสมาร์ท ระบบอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ การถ่ายทอดองค์ความรู้รูปแบบแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การแก้ปัญหาภัยแล้งและผลผลิตทางการเกษตรสู่ชุมชนโดยการจัดทำเป็นเอกสารตีพิมพ์ เผยแพร่ สื่อมัลติมิเดีย และคู่มือเผยแพร่กับชุมชนในพื้นที่ด้วยการนำองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตรในจังหวัดมุกดาหารเกิดกระบวนการพัฒนาและต่อยอดกลุ่มวิสาหกิจอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความมั่นคง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ได้อย่างยั่งยืน

ภายในงานมีการนำเสนอผลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของโครงการ จำนวน 8 กลุ่มวิสาหกิจ ได้แก่ 1.) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาหารปลอดภัยไทท่าห้วยคำ 2.) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงสัตว์บ้านเหล่าแขมทอง 3.)วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ไทนาซิง 4.) กลุ่มแปรรูปกล้วยน้ำว้า บ้านเหล่าหมี 5.) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และปลูกไม้ผลบ้านนายอ 6.) กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจพอเพียงบ้านนาซิงแปรรูปอ้อย 7.) กลุ่มปลูกมัลเบอรรี่บ้านนา​ ซิงแปรรูปจากหม่อน และ 8.) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลอดภัยไทนาซิง และมีการสาธิตนวัตกรรม ประกอบด้วย รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์แบบมัลติฟังก์ชัน เครื่องอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ได้ ทั้งนี้ ผู้บริหาร วช. ผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยสื่อมวลชน ได้เดินทางไปเยี่ยมชมจุดติดตั้งสถานีสูบน้ำ ณ อ่างเก็บน้ำร่องสิม และเยี่ยมชมสถานที่ผลิตอาหารมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์และปลูกไม้ผลบ้านนายอ ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมก้าวสู่ประเทศไทยที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกอ.รมน. – วช. ส่งมอบผลสำเร็จงานวิจัยและนวัตกรรม แก้ปัญหาภัยแล้งให้กับชุมชนมุกดาหาร ดำเนินการโดย ม.ราชภัฏสกลนคร ​

วันนี้ (วันที่ 30 พฤษภาคม 2565) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร​ (กอ.รมน.)​ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
และ​ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและยกระดับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ​โดย พล.ท.อุดม
โกษากุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กอ.รมน.​ และ​ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประธานกล่าวเปิดงานพิธีส่งมอบนวัตกรรมให้แก่พื้นที่​ ตำบลเหล่าหมี จังหวัดมุกดาหาร และ ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน หัวหน้าโครงการวิจัย นายวลัยพรรณ น้อยสันเทียะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร และ นายทักษิณ สุวรรณไตรย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสยามกลการ 4 ให้การต้อนรับ โดยมีหัวหน้ากลุ่มตัวแทนวิสาหกิจทั้ง 8 กลุ่ม พร้อมด้วยสื่อมวลชน ให้เกียรติเข้าร่วมงาน ณ โรงเรียนสยามกลการ 4 ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร กิจกรรมดังกล่าวเป็นผลสำเร็จของการดำเนินงานในโครงการวิจัย เรื่อง “การแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม” ซึ่งมี ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย

พล.ท.อุดม โกษากุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กอ.รมน. กล่าวว่า​ โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1​กอ.รมน. เป็นหน่วยงานที่พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ ต.เหล่าหมี​ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร แห่งนี้เพื่อดำเนินโครงการนี้ และได้ส่งให้ทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้พิจารณาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ด้วยวิจัยและนวัตกรรม มีการติดตามการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการ จากสนับสนุนของส่วนราชการต่าง​ ๆ ในจังหวัดมุกดาหาร กิจกรรมการส่งมอบผลงานวิจัยและนวัตกรรมในโครงการเรื่อง “การแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม” นี้ เป็นกิจกรรมในรูปแบบขยายผลองค์ความรู้จากผลงานงานวิจัยและนวัตกรรม​ โดย วช. ให้การสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์ไปถ่ายทอดขยายผลเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้นสนับสนุนผลผลิตการวิจัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. เป็นหน่วยงานภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
มีภารกิจหลักในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่นักวิจัย หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม ในประเด็นสำคัญของประเทศ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งสหสาขาวิชาการ โดยมุ่งเน้นผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาได้จริงอย่างทันท่วงที ทั้งเชิงวิชาการ เชิงเศรษฐกิจ เชิงสังคมชุมชน และเชิงนโยบาย เพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาและแก้ปัญหาเร่งด่วนที่สำคัญปัญหา​ภัยแล้ง​เป็นปัญหา​เร่งด่วน​ที่จะต้องได้รับการแก้ไข ในการบูรณาการขับเคลื่อนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง วช. และ กอ.รมน . โดยมี​ ม.​ราชภัฏ​สกลนคร​ ในการลงพื้นที่​ การนำประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ชุมชนต้นแบบด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมผ่านกลไกการดำเนินงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง​ มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมในการสนับสนุนงานเสริมสร้าง ความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางสังคม ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พลังงาน และอาหาร รวมถึงความมั่นคงเชิงพื้นที่ ตลอดจนเพื่อนำการวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในการปฏิบัติและการถ่ายทอดสู่ศูนย์เรียนรู้ของเครือข่ายปราชญ์เพื่อความมั่นคง เครือข่ายพื้นที่ชุมชนนำไปสู่ชุมชนที่มีศักยภาพ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยรูปแบบการขยายผลองค์ความรู้จากผลงานงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตจากผลสำเร็จนำไปสู่การส่งมอบผลงานวิจัยและนวัตกรรมในโครงการวิจัย เรื่อง “การแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม” วช. ให้การสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ได้ โรงเรือนแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐาน อย. และสถานีสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์จากความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานในการขยายผลองค์ความรู้จากผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมร่วมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาโดยผสานความรู้ร่วมผนึกกำลังสู่การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในพื้นที่และเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ วช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนและเป็นต้นแบบการทำงานวิจัยแบบบูรณาการให้กับนักวิจัยเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนทุนในการวิจัยในการดำเนินงานในเรื่องของ การแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม และ การพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการเกษตรโดยใช้เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับชุมชนสังคม ซึ่งเป็นการสนับสนุนสถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้จากงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมถ่ายทอดขยายผลเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้นโดยกลไกบูรณาการเชิงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานพัฒนาหน่วยงานภาคปฏิบัติในพื้นที่ และหน่วยงานร่วมขยายผลสนับสนุนผลผลิตการวิจัย วช. ร่วมกับ กอ.รมน.และ​ม.ราชภัฏสกลนคร ได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้การใช้พลังงานทดแทนในการสูบน้ำเพื่อการเกษตรโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ แก่กลุ่มเป้าหมายมาแล้วมากกว่า 50 ชุมชน ดังนั้น ทางคณะผู้วิจัยร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จึงเสนอโครงการ “การแก้ปัญหาภัยแล้งและยกระดับผลผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม”
การแก้ปัญหาภัยแล้งและการบริหารจัดการน้ำศักยภาพผลผลิตทางการเกษตร ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนในการถ่ายทอดและส่งมอบนวัตกรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐานสู่การสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ในพื้นที่ บ้านเหล่าหมี บ้านนาซิง และบ้านนายอ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร โดยการนำนวัตกรรม รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบสมาร์ท ระบบอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ การถ่ายทอดองค์ความรู้รูปแบบแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การแก้ปัญหาภัยแล้งและผลผลิตทางการเกษตรสู่ชุมชนโดยการจัดทำเป็นเอกสารตีพิมพ์ เผยแพร่ สื่อมัลติมิเดีย และคู่มือเผยแพร่กับชุมชนในพื้นที่ด้วยการนำองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตรในจังหวัดมุกดาหารเกิดกระบวนการพัฒนาและต่อยอดกลุ่มวิสาหกิจอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความมั่นคง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ได้อย่างยั่งยืน

ภายในงานมีการนำเสนอผลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของโครงการ จำนวน 8 กลุ่มวิสาหกิจ ได้แก่ 1.) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาหารปลอดภัยไทท่าห้วยคำ 2.) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงสัตว์บ้านเหล่าแขมทอง 3.)วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ไทนาซิง 4.) กลุ่มแปรรูปกล้วยน้ำว้า บ้านเหล่าหมี 5.) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และปลูกไม้ผลบ้านนายอ 6.) กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจพอเพียงบ้านนาซิงแปรรูปอ้อย 7.) กลุ่มปลูกมัลเบอรรี่บ้านนา​ ซิงแปรรูปจากหม่อน และ 8.) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลอดภัยไทนาซิง และมีการสาธิตนวัตกรรม ประกอบด้วย รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์แบบมัลติฟังก์ชัน เครื่องอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ได้ ทั้งนี้ ผู้บริหาร วช. ผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยสื่อมวลชน ได้เดินทางไปเยี่ยมชมจุดติดตั้งสถานีสูบน้ำ ณ อ่างเก็บน้ำร่องสิม และเยี่ยมชมสถานที่ผลิตอาหารมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์และปลูกไม้ผลบ้านนายอ ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมก้าวสู่ประเทศไทยที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกอ.รมน. – วช. ส่งมอบผลสำเร็จงานวิจัยและนวัตกรรม แก้ปัญหาภัยแล้งให้กับชุมชนมุกดาหาร ดำเนินการโดย ม.ราชภัฏสกลนคร ​

วันนี้ (วันที่ 30 พฤษภาคม 2565) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร​ (กอ.รมน.)​ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
และ​ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและยกระดับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ​โดย พล.ท.อุดม
โกษากุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กอ.รมน.​ และ​ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประธานกล่าวเปิดงานพิธีส่งมอบนวัตกรรมให้แก่พื้นที่​ ตำบลเหล่าหมี จังหวัดมุกดาหาร และ ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน หัวหน้าโครงการวิจัย นายวลัยพรรณ น้อยสันเทียะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร และ นายทักษิณ สุวรรณไตรย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสยามกลการ 4 ให้การต้อนรับ โดยมีหัวหน้ากลุ่มตัวแทนวิสาหกิจทั้ง 8 กลุ่ม พร้อมด้วยสื่อมวลชน ให้เกียรติเข้าร่วมงาน ณ โรงเรียนสยามกลการ 4 ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร กิจกรรมดังกล่าวเป็นผลสำเร็จของการดำเนินงานในโครงการวิจัย เรื่อง “การแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม” ซึ่งมี ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย

พล.ท.อุดม โกษากุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กอ.รมน. กล่าวว่า​ โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1​กอ.รมน. เป็นหน่วยงานที่พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ ต.เหล่าหมี​ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร แห่งนี้เพื่อดำเนินโครงการนี้ และได้ส่งให้ทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้พิจารณาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ด้วยวิจัยและนวัตกรรม มีการติดตามการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการ จากสนับสนุนของส่วนราชการต่าง​ ๆ ในจังหวัดมุกดาหาร กิจกรรมการส่งมอบผลงานวิจัยและนวัตกรรมในโครงการเรื่อง “การแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม” นี้ เป็นกิจกรรมในรูปแบบขยายผลองค์ความรู้จากผลงานงานวิจัยและนวัตกรรม​ โดย วช. ให้การสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์ไปถ่ายทอดขยายผลเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้นสนับสนุนผลผลิตการวิจัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. เป็นหน่วยงานภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
มีภารกิจหลักในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่นักวิจัย หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม ในประเด็นสำคัญของประเทศ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งสหสาขาวิชาการ โดยมุ่งเน้นผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาได้จริงอย่างทันท่วงที ทั้งเชิงวิชาการ เชิงเศรษฐกิจ เชิงสังคมชุมชน และเชิงนโยบาย เพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาและแก้ปัญหาเร่งด่วนที่สำคัญปัญหา​ภัยแล้ง​เป็นปัญหา​เร่งด่วน​ที่จะต้องได้รับการแก้ไข ในการบูรณาการขับเคลื่อนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง วช. และ กอ.รมน . โดยมี​ ม.​ราชภัฏ​สกลนคร​ ในการลงพื้นที่​ การนำประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ชุมชนต้นแบบด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมผ่านกลไกการดำเนินงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง​ มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมในการสนับสนุนงานเสริมสร้าง ความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางสังคม ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พลังงาน และอาหาร รวมถึงความมั่นคงเชิงพื้นที่ ตลอดจนเพื่อนำการวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในการปฏิบัติและการถ่ายทอดสู่ศูนย์เรียนรู้ของเครือข่ายปราชญ์เพื่อความมั่นคง เครือข่ายพื้นที่ชุมชนนำไปสู่ชุมชนที่มีศักยภาพ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยรูปแบบการขยายผลองค์ความรู้จากผลงานงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตจากผลสำเร็จนำไปสู่การส่งมอบผลงานวิจัยและนวัตกรรมในโครงการวิจัย เรื่อง “การแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม” วช. ให้การสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ได้ โรงเรือนแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐาน อย. และสถานีสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์จากความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานในการขยายผลองค์ความรู้จากผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมร่วมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาโดยผสานความรู้ร่วมผนึกกำลังสู่การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในพื้นที่และเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ วช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนและเป็นต้นแบบการทำงานวิจัยแบบบูรณาการให้กับนักวิจัยเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนทุนในการวิจัยในการดำเนินงานในเรื่องของ การแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม และ การพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการเกษตรโดยใช้เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับชุมชนสังคม ซึ่งเป็นการสนับสนุนสถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้จากงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมถ่ายทอดขยายผลเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้นโดยกลไกบูรณาการเชิงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานพัฒนาหน่วยงานภาคปฏิบัติในพื้นที่ และหน่วยงานร่วมขยายผลสนับสนุนผลผลิตการวิจัย วช. ร่วมกับ กอ.รมน.และ​ม.ราชภัฏสกลนคร ได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้การใช้พลังงานทดแทนในการสูบน้ำเพื่อการเกษตรโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ แก่กลุ่มเป้าหมายมาแล้วมากกว่า 50 ชุมชน ดังนั้น ทางคณะผู้วิจัยร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จึงเสนอโครงการ “การแก้ปัญหาภัยแล้งและยกระดับผลผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสมของชุมชนสังคมจังหวัดมุกดาหารด้วยนวัตกรรม”
การแก้ปัญหาภัยแล้งและการบริหารจัดการน้ำศักยภาพผลผลิตทางการเกษตร ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนในการถ่ายทอดและส่งมอบนวัตกรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐานสู่การสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ในพื้นที่ บ้านเหล่าหมี บ้านนาซิง และบ้านนายอ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร โดยการนำนวัตกรรม รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบสมาร์ท ระบบอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ การถ่ายทอดองค์ความรู้รูปแบบแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การแก้ปัญหาภัยแล้งและผลผลิตทางการเกษตรสู่ชุมชนโดยการจัดทำเป็นเอกสารตีพิมพ์ เผยแพร่ สื่อมัลติมิเดีย และคู่มือเผยแพร่กับชุมชนในพื้นที่ด้วยการนำองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตรในจังหวัดมุกดาหารเกิดกระบวนการพัฒนาและต่อยอดกลุ่มวิสาหกิจอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความมั่นคง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ได้อย่างยั่งยืน

ภายในงานมีการนำเสนอผลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของโครงการ จำนวน 8 กลุ่มวิสาหกิจ ได้แก่ 1.) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาหารปลอดภัยไทท่าห้วยคำ 2.) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงสัตว์บ้านเหล่าแขมทอง 3.)วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ไทนาซิง 4.) กลุ่มแปรรูปกล้วยน้ำว้า บ้านเหล่าหมี 5.) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และปลูกไม้ผลบ้านนายอ 6.) กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจพอเพียงบ้านนาซิงแปรรูปอ้อย 7.) กลุ่มปลูกมัลเบอรรี่บ้านนา​ ซิงแปรรูปจากหม่อน และ 8.) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลอดภัยไทนาซิง และมีการสาธิตนวัตกรรม ประกอบด้วย รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์แบบมัลติฟังก์ชัน เครื่องอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ได้ ทั้งนี้ ผู้บริหาร วช. ผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยสื่อมวลชน ได้เดินทางไปเยี่ยมชมจุดติดตั้งสถานีสูบน้ำ ณ อ่างเก็บน้ำร่องสิม และเยี่ยมชมสถานที่ผลิตอาหารมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์และปลูกไม้ผลบ้านนายอ ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมก้าวสู่ประเทศไทยที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

You may have missed