กรมการท่องเที่ยวจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรเส้นทางชุมพร-ประจวบฯ
กรมการท่องเที่ยว นำโดยอธิบดีกรมการท่องเที่ยว จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร 16 – 17 กุมภาพันธ์ 2565 ลงพื้นที่สัมผัสวิถีชีวิตและเสน่ห์ชุมชนภาคใต้จังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ เปิดเส้นทางท่องเที่ยวไทยแลนด์ริเวียร่า เปิดโลกเมืองชุมพร ทัศนาจรชายฝั่งทะเล แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต้นแบบเนินทรายงาม เยี่ยมชมที่พักนักเดินทาง
ที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ และชมสวนสับปะรดหลากหลายสายพันธุ์ของชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายได้แก่ชุมชนท่องเที่ยว
นายทวีศักดิ์ วาณิชย์เจริญ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า “การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไทยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงแผนปฏิบัติงานของกรมการท่องเที่ยวในการกำหนดและบูรณาการความคิดและการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน เพื่อให้การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไทยเป็นไปอย่างมีทิศทาง มีจุดพัฒนาร่วมกันจากทุกภาคส่วนด้านการท่องเที่ยว พร้อมทั้งยกระดับการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”
กรมการท่องเที่ยวได้ดำเนินการพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเล็งเห็นว่าการท่องเที่ยว
โดยชุมชนมีส่วนสำคัญอย่างมากในการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และนำไปสู่การพัฒนา
การท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพชุมชนและตรวจประเมินรับรองให้เข้าสู่มาตรฐาน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 112 ชุมชน และในช่วงสถานการณ์โควิด 19 กรมการท่องเที่ยวได้นำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการตรวจประเมินขอรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งจากเดิมจะเป็นการลงพื้นที่ เปลี่ยนเป็นการตรวจประเมินแบบออนไลน์ โดยให้ชุมชนได้นำเสนอศักยภาพของตนเองตามเกณฑ์การตรวจประเมินต่อคณะกรรมการฯ ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ รวมถึงการอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนในหลักสูตรต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์
กรมการท่องเที่ยวได้ดำเนินโครงการศึกษาออกแบบสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการศึกษาเส้นทาง
การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับความสะดวกสบาย มีความพึงพอใจสูงสุด และสามารถตอบโจทย์ได้ทุกกลุ่มท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิด “เที่ยวทั่วไทย เที่ยวได้ทุกคน (Tourism for All)” ซึ่งได้มีการพัฒนาโครงการต้นแบบ 4 เขต สู่เส้นทางการท่องเที่ยวทั้งหมด 15 เส้นทางที่มีศักยภาพ พัฒนาให้ทุกเส้นทางในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวได้รับความนิยม และสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่ ชุมชน และประเทศเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยจังหวัดชุมพรถือเป็นหนึ่งใน
เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตกของอ่าวไทยหรือไทยแลนด์ริเวียร่า (Thailand Riviera) กรมการท่องเที่ยว
จึงได้ศึกษาและสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ในจังหวัดชุมพร และกำหนดเป็นเส้นทางท่องเที่ยว “เปิดโลกเมืองชุมพร ทัศนาจรชายฝั่งทะเล” ซึ่งจะเป็นเส้นทางท่องเที่ยวในเขตเมืองและชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของเมือง สามารถแบ่งกลุ่มท่องเที่ยวได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกคือแหล่งท่องเที่ยวในเมือง เช่น ศาลหลักเมืองชุมพร โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ (แก้มลิงชุมพร) วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร วัดสามแก้ว
และวัดนาทุ่ง สำหรับกลุ่มที่ 2 คือ แหล่งท่องเที่ยวชายหาด เช่น หาดทุ่งวัวเล่น อ่าวพนังตัก แหลมคอกวาง – หัวโม่ง อ่าวปากหาด หาดปากน้ำชุมพร หาดภราดร หาดลึกลับผาแดง หาดทรายรีและอ่าวมะขาม
สำหรับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงามของจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่
ที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากนัก และยังไม่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน หรือพัฒนาการท่องเที่ยวมากนัก ดังนั้น เพื่อพัฒนาเนินทรายงามให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต้นแบบ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยกรมการท่องเที่ยว จึงจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและออกแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงาม (Sand Dune) ให้เป็น
แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต้นแบบเพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal) บนเส้นทาง Scenic Route
ในอนาคต ทั้งนี้ จากการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพบว่า แหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงามและพื้นที่เชื่อมโยงสามารถพัฒนาไปสู่อุทยานธรณีโลกได้ พร้อมทั้งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นพื้นฐาน เช่น ทางเดินขึ้นลง
เนินทราย จุดชมวิว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในระยะเร่งด่วน จัดอบรมบุคลากรทุกภาคส่วนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการท่องเที่ยววิถีใหม่ ปัจจุบันกรมการท่องเที่ยวได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและออกแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงาม (Sand Dune) เสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการส่งมอบแผนการพัฒนาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานจังหวัดชุมพร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพรองค์การบริหารส่วนตำบลปากคลอง เป็นต้น เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่อไป
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มอบหมายโจทย์สำคัญให้กรมการท่องเที่ยวดำเนินการส่งเสริมและพัฒนา
ที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ๆ นอกเหนือจากที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์ ซึ่งเป็นที่พักยอดนิยมที่มีอยู่
ในชุมชนท่องเที่ยวเกือบทุกแห่งทั่วประเทศ กรมการท่องเที่ยวจึงได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนา “ที่พักนักเดินทาง (Home lodge)” เพื่อเป็นที่พักของนักท่องเที่ยวในอีกรูปแบบหนึ่งในการรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มี
ความต้องการที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้น และเป็นอีกแหล่งรายได้เสริมของชุมชนหรือผู้ประกอบการ โดยจัดทำหลักเกณฑ์คุณภาพของที่พักนักเดินทาง และเข้าไปให้คำแนะนำจัดอบรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจ
การให้บริการที่พักให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยมีเงื่อนไขหลัก คือ มีจำนวนห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง สามารถรองรับได้ไม่เกิน 20 คน พร้อมบริการสิ่งอำนวยความสะดวกตามสมควร จดแจ้งสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 และการตรวจประเมินเกณฑ์คุณภาพ Home Lodge ของกรมการท่องเที่ยว โดยปัจจุบันมีที่พักนักเดินทางที่ผ่านการตรวจประเมินเกณฑ์คุณภาพที่พักนักเดินทาง
(Home Lodge) จำนวน 1,144 แห่ง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะสามารถเลือกที่พักได้มากกว่าเดิม และยังสามารถสร้างรายได้สู่ชุมชนและผู้ประกอบการขนาดเล็ก ยกตัวอย่างสถานที่พัก Home Lodge ที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
อย่างกิจกรรมการท่องเที่ยวของบ้านไม้ชายคลองโฮมสเตย์ที่มีธนาคารปูม้า พาล่องเรือชมระบบนิเวศป่าชายเลนและปากอ่าว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนได้ ทั้งนี้ กรมการท่องเที่ยวพร้อมสนับสนุนช่วยเหลือด้านการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว โดยการผนึกเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชน และช่วยประชาสัมพันธ์คุณภาพที่พักนักเดินทางให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนตำบล
อ่าวน้อย ซึ่งเป็นชุมชนที่ผ่านการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากกรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 3 จุดสำคัญ ได้แก่ จุดที่ 1 บริเวณวัดอ่าวน้อย ที่นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้กราบไหว้ขอพรพระ
เสริมสิริมงคลแล้ว ยังมีไฮไลท์สำคัญคือสถาปัตยกรรมโบสถ์ไม้สักขนาดใหญ่ทั้งหลังที่มีความงดงามหาชมยาก
พร้อมรับประทานอาหารกลางวันที่ชุมชนชาวประมงที่ขึ้นชื่อด้านอาหารทะเลของจังหวัด จุดท่องเที่ยวที่ 2 เป็นการทำกิจกรรม Creative Tourism ร่วมกับชุมชนที่สวนสับปะรดไร่ลุงถึกพี่วิ เพื่อเรียนรู้วิธีการปอก คัดเลือกและชิมสับปะรดหลากหลายสายพันธุ์ และจุดท่องเที่ยวที่ 3 คือ นักท่องเที่ยวจะได้สนุกกับกิจกรรมที่ได้จัดเตรียมไว้
พร้อมรับประทานอาหารเมนูซี่โครงหมูอบสับปะรดรสชาติดีอย่างมีความสุขที่ไร่ดินไทยออแกนิกส์ฟาร์มสเตย์
อย่างไรก็ตาม ในยุคโควิด 19 ชุมชนท่องเที่ยวจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวและวิถี
การท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการจะต้องปรับรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับนักท่องเที่ยว โดยนำเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัยมาดำเนินธุรกิจและเสนอขายกิจกรรมท่องเที่ยวที่เน้นรูปแบบการท่องเที่ยว New Normal มุ่งให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ ความสะอาดและความปลอดภัย และไม่คาดหวังนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่อย่างกรุ๊ปทัวร์ เพราะหลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลายลง การเดินทางท่องเที่ยวจะเปลี่ยนเป็นกรุ๊ปขนาดเล็กมากขึ้นหรือเดินทางด้วยตนเอง และรูปแบบการท่องเที่ยวจะเป็นระยะสั้นเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ การปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับโควิด 19 การท่องเที่ยวจึงต้องเป็นแบบร่วมมือป้องกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้ไปเที่ยวและผู้รับนักท่องเที่ยว เรียกว่า เที่ยวได้…การ์ดไม่ตก แล้วจะก้าวข้ามผ่านวิกฤติไปได้ด้วยกัน
สำหรับนักท่องเที่ยวสามารถค้นหาเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ ได้ที่เว็บไซต์ของ กรมการท่องเที่ยว www.tourism.go.th และผู้ประกอบการที่สนใจตรวจประเมินเกณฑ์คุณภาพ Home Lodge สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage : Thailand Home Lodge
*******************************************
กรมการท่องเที่ยวจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรเส้นทางชุมพร-ประจวบฯ
กรมการท่องเที่ยว นำโดยอธิบดีกรมการท่องเที่ยว จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร 16 – 17 กุมภาพันธ์ 2565 ลงพื้นที่สัมผัสวิถีชีวิตและเสน่ห์ชุมชนภาคใต้จังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ เปิดเส้นทางท่องเที่ยวไทยแลนด์ริเวียร่า เปิดโลกเมืองชุมพร ทัศนาจรชายฝั่งทะเล แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต้นแบบเนินทรายงาม เยี่ยมชมที่พักนักเดินทาง
ที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ และชมสวนสับปะรดหลากหลายสายพันธุ์ของชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายได้แก่ชุมชนท่องเที่ยว
นายทวีศักดิ์ วาณิชย์เจริญ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า “การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไทยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงแผนปฏิบัติงานของกรมการท่องเที่ยวในการกำหนดและบูรณาการความคิดและการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน เพื่อให้การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไทยเป็นไปอย่างมีทิศทาง มีจุดพัฒนาร่วมกันจากทุกภาคส่วนด้านการท่องเที่ยว พร้อมทั้งยกระดับการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”
กรมการท่องเที่ยวได้ดำเนินการพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเล็งเห็นว่าการท่องเที่ยว
โดยชุมชนมีส่วนสำคัญอย่างมากในการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และนำไปสู่การพัฒนา
การท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพชุมชนและตรวจประเมินรับรองให้เข้าสู่มาตรฐาน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 112 ชุมชน และในช่วงสถานการณ์โควิด 19 กรมการท่องเที่ยวได้นำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการตรวจประเมินขอรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งจากเดิมจะเป็นการลงพื้นที่ เปลี่ยนเป็นการตรวจประเมินแบบออนไลน์ โดยให้ชุมชนได้นำเสนอศักยภาพของตนเองตามเกณฑ์การตรวจประเมินต่อคณะกรรมการฯ ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ รวมถึงการอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนในหลักสูตรต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์
กรมการท่องเที่ยวได้ดำเนินโครงการศึกษาออกแบบสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการศึกษาเส้นทาง
การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับความสะดวกสบาย มีความพึงพอใจสูงสุด และสามารถตอบโจทย์ได้ทุกกลุ่มท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิด “เที่ยวทั่วไทย เที่ยวได้ทุกคน (Tourism for All)” ซึ่งได้มีการพัฒนาโครงการต้นแบบ 4 เขต สู่เส้นทางการท่องเที่ยวทั้งหมด 15 เส้นทางที่มีศักยภาพ พัฒนาให้ทุกเส้นทางในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวได้รับความนิยม และสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่ ชุมชน และประเทศเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยจังหวัดชุมพรถือเป็นหนึ่งใน
เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตกของอ่าวไทยหรือไทยแลนด์ริเวียร่า (Thailand Riviera) กรมการท่องเที่ยว
จึงได้ศึกษาและสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ในจังหวัดชุมพร และกำหนดเป็นเส้นทางท่องเที่ยว “เปิดโลกเมืองชุมพร ทัศนาจรชายฝั่งทะเล” ซึ่งจะเป็นเส้นทางท่องเที่ยวในเขตเมืองและชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของเมือง สามารถแบ่งกลุ่มท่องเที่ยวได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกคือแหล่งท่องเที่ยวในเมือง เช่น ศาลหลักเมืองชุมพร โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ (แก้มลิงชุมพร) วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร วัดสามแก้ว
และวัดนาทุ่ง สำหรับกลุ่มที่ 2 คือ แหล่งท่องเที่ยวชายหาด เช่น หาดทุ่งวัวเล่น อ่าวพนังตัก แหลมคอกวาง – หัวโม่ง อ่าวปากหาด หาดปากน้ำชุมพร หาดภราดร หาดลึกลับผาแดง หาดทรายรีและอ่าวมะขาม
สำหรับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงามของจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่
ที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากนัก และยังไม่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน หรือพัฒนาการท่องเที่ยวมากนัก ดังนั้น เพื่อพัฒนาเนินทรายงามให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต้นแบบ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยกรมการท่องเที่ยว จึงจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและออกแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงาม (Sand Dune) ให้เป็น
แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต้นแบบเพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal) บนเส้นทาง Scenic Route
ในอนาคต ทั้งนี้ จากการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพบว่า แหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงามและพื้นที่เชื่อมโยงสามารถพัฒนาไปสู่อุทยานธรณีโลกได้ พร้อมทั้งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นพื้นฐาน เช่น ทางเดินขึ้นลง
เนินทราย จุดชมวิว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในระยะเร่งด่วน จัดอบรมบุคลากรทุกภาคส่วนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการท่องเที่ยววิถีใหม่ ปัจจุบันกรมการท่องเที่ยวได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและออกแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงาม (Sand Dune) เสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการส่งมอบแผนการพัฒนาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานจังหวัดชุมพร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพรองค์การบริหารส่วนตำบลปากคลอง เป็นต้น เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่อไป
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มอบหมายโจทย์สำคัญให้กรมการท่องเที่ยวดำเนินการส่งเสริมและพัฒนา
ที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ๆ นอกเหนือจากที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์ ซึ่งเป็นที่พักยอดนิยมที่มีอยู่
ในชุมชนท่องเที่ยวเกือบทุกแห่งทั่วประเทศ กรมการท่องเที่ยวจึงได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนา “ที่พักนักเดินทาง (Home lodge)” เพื่อเป็นที่พักของนักท่องเที่ยวในอีกรูปแบบหนึ่งในการรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มี
ความต้องการที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้น และเป็นอีกแหล่งรายได้เสริมของชุมชนหรือผู้ประกอบการ โดยจัดทำหลักเกณฑ์คุณภาพของที่พักนักเดินทาง และเข้าไปให้คำแนะนำจัดอบรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจ
การให้บริการที่พักให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยมีเงื่อนไขหลัก คือ มีจำนวนห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง สามารถรองรับได้ไม่เกิน 20 คน พร้อมบริการสิ่งอำนวยความสะดวกตามสมควร จดแจ้งสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 และการตรวจประเมินเกณฑ์คุณภาพ Home Lodge ของกรมการท่องเที่ยว โดยปัจจุบันมีที่พักนักเดินทางที่ผ่านการตรวจประเมินเกณฑ์คุณภาพที่พักนักเดินทาง
(Home Lodge) จำนวน 1,144 แห่ง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะสามารถเลือกที่พักได้มากกว่าเดิม และยังสามารถสร้างรายได้สู่ชุมชนและผู้ประกอบการขนาดเล็ก ยกตัวอย่างสถานที่พัก Home Lodge ที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
อย่างกิจกรรมการท่องเที่ยวของบ้านไม้ชายคลองโฮมสเตย์ที่มีธนาคารปูม้า พาล่องเรือชมระบบนิเวศป่าชายเลนและปากอ่าว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนได้ ทั้งนี้ กรมการท่องเที่ยวพร้อมสนับสนุนช่วยเหลือด้านการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว โดยการผนึกเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชน และช่วยประชาสัมพันธ์คุณภาพที่พักนักเดินทางให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนตำบล
อ่าวน้อย ซึ่งเป็นชุมชนที่ผ่านการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากกรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 3 จุดสำคัญ ได้แก่ จุดที่ 1 บริเวณวัดอ่าวน้อย ที่นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้กราบไหว้ขอพรพระ
เสริมสิริมงคลแล้ว ยังมีไฮไลท์สำคัญคือสถาปัตยกรรมโบสถ์ไม้สักขนาดใหญ่ทั้งหลังที่มีความงดงามหาชมยาก
พร้อมรับประทานอาหารกลางวันที่ชุมชนชาวประมงที่ขึ้นชื่อด้านอาหารทะเลของจังหวัด จุดท่องเที่ยวที่ 2 เป็นการทำกิจกรรม Creative Tourism ร่วมกับชุมชนที่สวนสับปะรดไร่ลุงถึกพี่วิ เพื่อเรียนรู้วิธีการปอก คัดเลือกและชิมสับปะรดหลากหลายสายพันธุ์ และจุดท่องเที่ยวที่ 3 คือ นักท่องเที่ยวจะได้สนุกกับกิจกรรมที่ได้จัดเตรียมไว้
พร้อมรับประทานอาหารเมนูซี่โครงหมูอบสับปะรดรสชาติดีอย่างมีความสุขที่ไร่ดินไทยออแกนิกส์ฟาร์มสเตย์
อย่างไรก็ตาม ในยุคโควิด 19 ชุมชนท่องเที่ยวจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวและวิถี
การท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการจะต้องปรับรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับนักท่องเที่ยว โดยนำเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัยมาดำเนินธุรกิจและเสนอขายกิจกรรมท่องเที่ยวที่เน้นรูปแบบการท่องเที่ยว New Normal มุ่งให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ ความสะอาดและความปลอดภัย และไม่คาดหวังนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่อย่างกรุ๊ปทัวร์ เพราะหลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลายลง การเดินทางท่องเที่ยวจะเปลี่ยนเป็นกรุ๊ปขนาดเล็กมากขึ้นหรือเดินทางด้วยตนเอง และรูปแบบการท่องเที่ยวจะเป็นระยะสั้นเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ การปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับโควิด 19 การท่องเที่ยวจึงต้องเป็นแบบร่วมมือป้องกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้ไปเที่ยวและผู้รับนักท่องเที่ยว เรียกว่า เที่ยวได้…การ์ดไม่ตก แล้วจะก้าวข้ามผ่านวิกฤติไปได้ด้วยกัน
สำหรับนักท่องเที่ยวสามารถค้นหาเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ ได้ที่เว็บไซต์ของ กรมการท่องเที่ยว www.tourism.go.th และผู้ประกอบการที่สนใจตรวจประเมินเกณฑ์คุณภาพ Home Lodge สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage : Thailand Home Lodge
*******************************************