หม่อมราชวงศ์ปณิธาน จรูญโรจน์ เปิดศูนย์สลากกินแบ่งฯ หนุนอาชีพคนพิการ ณ ตลาดไทยสมบูรณ์สแควร์ อ.พระประแดงจ.สมุทรปราการ (ชมคลิป)
หม่อมราชวงศ์ปณิธาน จรูญโรจน์ เปิดศูนย์สลากกินแบ่งฯ หนุนอาชีพคนพิการ ณ ตลาดไทยสมบูรณ์สแควร์ อ.พระประแดงจ.สมุทรปราการ
[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=DMIu74Vr7L4[/embedyt]
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2564 หม่อมราชวงศ์ปณิธาน จรูญโรจน์ ปนัดดาในพระเจ้าวรวงศเธอกรมหมื่นจรั สพรปฏิภาณ (พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี) และในฐานะประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย เป็นประธานเปิดแผงสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อสนับสนุนอาชีพสำหรับผู้พิการภายใต้โครงการ “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อคนพิการไทย” ณ ตลาดไทยสมบูรณ์สแควร์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
โดยมี นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการ และ ตำแหน่งคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้านแรงงาน และ ตำแหน่งที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร ,นางมชิตา อนุสังข์สวัสดิ์ ในนามสมาคมสตรี เหล่ากาชาด จ. สมุทรปราการ และนายสรภพ อึงสมบูรณ์ ผู้บริหารตลาดไทยสมบูรณ์ สุขสวัสดิ์ ร่วมเปิดโครงการ
นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล กล่าว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่คุณชาย กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดโครงการฯ“สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อคนพิการไทย” ณ. ตลาดไทยสมบูรณ์สแควร์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ในวันเสาร์ที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้
ด้วยสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย เป็นองค์กรของคนพิการ ที่เกิดจากการรวมกลุ่มของ “แรงงานคนพิการไทย” ตามนโยบายของรัฐบาล ที่เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดูแลคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยเฉพาะเรื่องการจ้างงานให้คนพิการ มีโอกาส ประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับคนอื่นโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ มีคนพิการที่ทำงานในสถานประกอบการ หน่วยงานของรัฐ ตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๖ ในมาตรา ๓๓ ที่ได้บัญญัติไว้ว่า เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ นายจ้างหรือ เจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทํางานตามลักษณะของงานในอัตราส่วน ที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานของรัฐ
ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงกําหนดจํานวนที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงาน ของรัฐจะต้องรับคนพิการเข้าทํางาน และกระทรวงแรงงาน ได้ออกกฎกระทรวง ว่า ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป รับคนพิการที่สามารถทำงานได้ ไม่ว่าอยู่ตำแหน่งใดในอัตราส่วนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการทุก 100 คนต่อคนพิการ 1 คน เศษของ 100 คน ถ้าเกิน 50 คน ต้องรับคนพิการเพิ่มอีก 1 คน” ในปัจจุบันยังคงมีคนพิการที่ยังว่างงานอีกกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน ที่ยัง มิได้รับสิทธิในการจ้างงานเพราะด้วยเหตุปัจจัยหลากหลายด้าน ทั้งคนพิการ และสถานประกอบการ
สืบเนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันยังจะเห็นได้ว่าปัญหาคุณภาพชีวิตของ “คนพิการ และ ผู้ด้อยโอกาส”ในประเทศไทยมีจำนวนมากที่ยังขาดแคลนในหลายๆด้านทำให้คุณภาพชีวิตยังมีความเหลื่อมล้ำสูงในการใช้ชีวิตในปัจจุบันซึ่งจากสถิติและในสถานการณ์ปัจจุบัน จำนวนคนพิการในไทย โดยแบ่งเป็นดังนี้
๒.๑ สถานการณ์การส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ
๒.๑.๑ ข้อมูลคนพิการ ณ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๓
๒.๑.๑.๑คนพิการมีจำนวน ๒,๐๔๘,๓๖๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๐๘ ของประชากรทั้งประเทศ แบ่งออกเป็นเพศชายจำนวน ๑,๐๖๙,๗๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๒๒ เพศหญิง จำนวน ๙๗๘,๖๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๗๘
โดยสามารถแยกข้อมูลคนพิการได้ ดังนี้
๑) แยกตามประเภทความพิการ ได้แก่
(๑) ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ๑,๐๑๖,๐๗๕ คน (ร้อยละ ๔๙.๖๐)
(๒) ทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ๓๘๕,๐๘๗ คน (ร้อยละ ๑๘.๘๐)
(๓) ทางการเห็น ๑๙๒,๐๑๙ คน (ร้อยละ ๙.๓๗)
(๔) ทางจิตใจหรือพฤติกรรม จำนวน ๑๕๘,๖๒๕ (ร้อยละ ๗.๗๔)
(๕) ทางสติปัญญา ๑๔๐,๐๕๙ คน (ร้อยละ ๖.๘๔)
(๖) พิการมากกว่า ๑ ประเภท ๑๒๔,๐๑๗ คน (ร้อยละ ๖.๐๕)
(๗) ออทิสติก ๑๔,๘๔๑ คน (ร้อย ๐.๗๒)
(๘) ทางการเรียนรู้ ๑๒,๑๐๘ คน (ร้อยละ ๐.๕๙) และ (๙) ข้อมูลรอการยืนยัน ๕,๕๓๕ คน (ร้อยละ ๐.๒๗)
๒)แยกตามช่วงอายุ ได้แก่
(๑) คนพิการอายุตั้งแต่ ๖๐ ปี ขึ้นไป ๑,๑๑๑,๗๔๗ คน (ร้อยละ ๕๔.๒๘)
(๒) คนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง ๑๕-๕๙ ปี ๘๕๔,๓๓๒ คน (ร้อยละ ๔๑.๗๑)
(๓) คนพิการที่อยู่ในวัยเด็กและวัยศึกษา แรกเกิด – ๒๑ ปี ๑๕๔,๑๖๖ คน (ร้อยละ ๗.๕๓)
๓)แยกสาเหตุความพิการ แบ่งออกเป็น
(๑) แพทย์ไม่ระบุสาเหตุความพิการ ร้อยละ ๕๒.๗๒
(๒) ไม่ทราบสาเหตุ ร้อยละ ๒๑.๙๘
(๓) ความเจ็บป่วย/โรคอื่น ๆ ร้อยละ ๑๗.๙๓
(๔) อุบัติเหตุ ร้อยละ ๖.๗๔
(๕) กรรมพันธุ์/พันธุกรรม ร้อยละ ๐.๕๘
(๖) พิการแต่กำเนิด ร้อยละ ๐.๐๕
๒.๑.๑.๒ข้อมูลอาชีพคนพิการในวัยทำงาน (คนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน อายุ ๑๕ – ๕๙ ปี) จำนวน ๘๕๔,๓๓๒ คน แบ่งข้อมูลได้ ดังนี้
๑) คนพิการที่ประกอบอาชีพ จำนวน ๒๖๗,๘๔๓ คน (ร้อยละ ๓๑.๕๑ ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด) แบ่งตามอาชีพได้แก่
(๑)เกษตรกรรม ๑๑๑,๙๓๙คน (ร้อยละ ๔๑.๗๙)
(๒)รับจ้าง ๖๘,๓๘๓คน(ร้อยละ๒๕.๕๓)
(๓)ไม่ระบุอาชีพ ๓๘,๐๒๙คน (ร้อยละ ๑๔.๒๐)
(๔)ผู้ประกอบกิจการส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ธุรกิจ ๑๗,๘๐๗คน (ร้อยละ๖.๖๕)
(๕) อื่น ๆ ๑๕,๘๙๗ คน (ร้อยละ ๕.๙๔)
(๖) ลูกจ้าง/ลูกจ้างเอกชน/พนักงานบริษัท ๑๑,๐๒๓ คน (ร้อยละ๔.๑๒)
(๗) รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ๓,๒๒๒ (ร้อยละ ๑.๒๐)
(๘) กิจการส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย ๑,๕๔๓ คน (ร้อยละ ๐.๕๓)
๒) คนพิการในวัยทำงานที่สามารถประกอบอาชีพได้ แต่ยังไม่ได้ประกอบอาชีพ ๑๙๐,๙๓๙ คน (ร้อยละ ๒๒.๓๕ ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด)
๓) คนพิการในวัยทำงานที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (มีความพิการมากช่วยเหลือตนเองไม่ได้) ๕๔,๒๙๘ คน (ร้อยละ ๖.๓๖) ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด)
๔) คนพิการที่ไม่ประสงค์ให้ข้อมูลด้านอาชีพ ๓๔๑,๒๕๒ คน (ร้อยละ ๓๙.๙๔ ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด)
ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าว เป็นที่น่าตกใจ ที่คนพิการ และ ผู้ด้อยโอกาส จำนวนมากที่ยังขาดในหลายปัจจัย ขาดการส่งเสริม แม้รัฐบาลจะให้ความสำคัญหรือเข้ามาช่วยในเรื่องสวัสดิการต่างๆก็ตามแต่ด้วยจำนวนของคนพิการในหลายพื้นที่ทั่วประเทศจึงทำให้เกิดช่องว่าง หรือความต้องการที่ยังรอการช่วยเหลืออีกมาก
โดยสมาคมฯ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่และยังไม่มีทุนทรัพย์ หรือ รายได้อื่นใด รวมถึงงบประมาณใดๆจากหน่วยงานภาครัฐ ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนพิการ รวมถึงการ “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างอนาคต เพื่อ คนพิการไทย” ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่เป็นภาระต่อครอบครัว/ชุมชน/สังคม และสร้างคุณค่า คุณภาพชีวิตที่ดีของคนพิการ ต่อไป ทาง สมาคมฯจึงจัด โครงการ “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อคนพิการไทย” โดยได้รับความร่วมมือและอนุเคราะห์จาก “ผู้บริหารตลาดไทยสมบูรณ์สแควร์” อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ จัดพื้นที่เพื่อให้ “คนพิการและครอบครอบครัวของคนพิการ” จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน ๕ จุด ซึ่งอาชีพจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่เคียงคู่กับคนพิการมาอย่างยาวนาน เป็นอาชีพที่คนพิการสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกและนำมาสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวเป็นอย่างดี และยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่เป็นการสร้างภาระให้กับครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ