วิหาร “เซนต์ โซเฟีย” แห่งตุรกี สร้างถวายพระเจ้าผู้มอบ “พระวิสุทธิปัญญา” แก่โลก

หากมีโอกาสไปเที่ยวประเทศตุรกี ดินแดนสองทวีปแล้วละก็ พลาดไม่ได้ต้องไปเยือน วิหาร “เซนต์ โซเฟีย” (Saint Sophia)  หรือ วิหารซันตา โซเฟีย เดิมเป็นโบสถ์ในคริสต์ศาสนา อยู่ในกรุงคอนสแตนตินโนเปิล (ปัจจุบัน คือ เมืองอิสตันบูล)  ตุรกี สร้างขึ้นโดยจักรพรรดิ คอนสแตนติน แห่งอาณาจักรโรมันตะวันออก เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่13 แต่ หลังจากพระเจ้าโมฮัมเหม็ดที่2 เข้ามาสู่อำนาจเหนือตุรกี ต่อจากพระเจ้าจัสติเนียน พระองค์ทรงนับถือศาสนาอิสลาม จึงได้ดัดแปลงเป็นสุเหร่า แต่ยังคงรักษาความงามท่างด้านศิลปกรรม เอาไว้เช่นเดิม

วิหารเซนต์ โซเฟีย แห่งนี้ เป็นงานสถาปัตยกรรมแบบ ไบแซนไทน์ คือมีลักษณะผสมผสาน ระหว่างศิลปวัฒนธรรมกรีก และโรมัน กับศิลปวัฒนธรรมเปอร์เซีย จุดเด่นคือ มียอดโดมใหญ่อยู่กลางวิหาร ภายในวิหารใช้กระจกสีประดับ เหนือประตูหน้าต่างอย่างงดงาม มีพื้นที่ประมาณ 700ตารางเมตร ภายในมีเสาค้ำสลักและประดับประดาอย่างงดงามถึง 108 ต้น ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ยังคงความงดงามมาจนถึงปัจจุบัน

โบสถ์ในปัจจุบันนี้เป็นหลังที่ 3 แล้วที่มีการสร้างขึ้นใหม่ หลังแรกสร้างโดย จักรพรรดิคอนสแตนติอุส (Constantius) โอรสจักรพรรดิคอนสแตนติน เมื่อปี 903 ถูกเผาทำลายเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.947 จากความไม่พอใจที่พระนางยูโดเชีย(Eudosia)


ทรงถอดถอนนักบุญจอห์นคริสซอสทอม (John Chrysostom) ออกจากตำแหน่งบิชอป หลังที่ 2 ถูกสร้างขึ้นโดยจักรพรรดิธีโอโดเชียสที่2 ในอีก 14 ปีต่อมา และถูกเผ่าทำลายจากกบฏนิก้า (Nika Revolt)ในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian) เมื่อพระองค์ปราบกบฏได้แล้วทรงสร้างโบสถ์ขึ้นมาใหม่เป็นหลังที่ 3 ในอีก 1 เดือนต่อมา โดยทรงตั้งพระทัยอย่างสูงที่จะให้โบสถ์หลังนี้สวยงาม จึงทรงบัญชาให้สถาปนิก
มีชื่อรวมทั้งนำวัสดุจากซากเมืองเก่าของกรีก เช่น เอเฟซุส เอเธนส์ เดลฟี เป็นต้น เป็นการประหยัดเวลาใช้เวลาเพียง 5 ปี ด้วยแรงงานช่าง 10,000 คนและคงความงดงามอลังการมาตั้งแต่ปี 1080 มาถึง 1996 กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก ด้วยความสวยงามของโบสถ์แห่งนี่เองหลังจากกองทัพชาวเติร์กยกพลเข้าเมือง และประกาศชัยชนะเด็ดขาดต่ออาณาจักรโรมันตะวันออก ทำให้สุลต่านเมห์เมดที่ 2 ไม่ทำลาย แต่ให้เปลี่ยนเป็นสุเหร่ามุสลิมทันที


ดังนั้นทุกศุกร์จะมีเสียงสวดทำละหมาดในภาษาอารบิกแทนเสียงสวดมนต์ภาษาละตินในพิธีมิสซาของชาวคริสต์ และทรงสร้างหอเรียกสวด Minaret และประตูมิหรับ (Mihrab) เป็นเครื่องแสดงทิศที่หันไปทางเมืองเมกกะ ประเทศซุอุดิอาระเบีย ทรงสั่งให้เอาปูนปลาสเตอร์ขาวทาปิดทับภาพโมเสกที่ทำจากทองคำและกระจกอันวิจิตรพิสดารของศิลปะแบบไบแซนไทน์ เพราะข้อห้ามของอิสลามจะต้องไม่มีรูปคนหรือสัตว์ใดๆอยู่ในสุเหร่า
เป็นอันขาดจึงประดับด้วยลวดลายเรขาคณิต ต้นไม้และตัวหนังสือภาษาอารบิกที่มาจากคัมภีร์อัลกุรอานเท่านั้น จนถึงปี 2466 มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก ผู้นำปฏิวัติการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยสุลต่านมาเป็นระบบการปกครองแบบสาธารณะรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขเขาเป็น บิดาของคนตุรกียุคใหม่ และเป็นประธานาธิบดีคนแรกของตุรกีได้ขจัดปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างศาสนา จึงประกาศเปลี่ยนโบสถ์เซนต์โซเฟียมาเป็นพิพิธภัณฑ์ และสั่งให้มีการล้างปูนขาวทีทาปิดภาพโมเสกทั้งหมดออก ทุกคนจึงเห็นประจักษ์ในความงดงามวิจิตรบรรจงที่ซ่อยอยู่นานกว่า 1500 ปีโบสถ์แห่งนี้ได้รับการยอมรับให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัสจรรย์ของโลก ภายใต้ชื่อ ฮาเยียโซเฟีย หรือ ฮาเจียโซเฟีย หรือ อาเยียโซเฟีย (Hagia Sophia)เป็นภาษากรีก แปลว่า พระวิสุทธิปัญญา


Sirivit Bochantuk : เรื่อง และภาพ

You may have missed