ชำนาญ ยื่นคำร้องศาลรัฐธรรมนูญ ค้านตนพ้นราชการ

นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ อดีตประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา เดินทางเข้ายื่นคำร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยการกระทำของประธานศาลฎีกา ที่ออกคำสั่งให้นายชำนาญพันจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ ว่าเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 190 และการที่นำการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อให้ทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากราชการนั้น เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อองค์พระมหาษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 เนื่องจากประธานศาลฎีกาทราบดีว่า ความแน่นอนของระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษาตามที่กฎหมายกำหนดให้พ้นจากราชการเมื่ออายุ 70 ปี บริบูรณ์ และหลักเกณฑ์การให้ผู้พิพากษาพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากราชการตามกฎหมาย เป็นหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในทางส่วนตัว (Personal Independence) ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทุกฉบับ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 บัญญัติรับรอง ประธานศาลฎีกาไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้พิพากษาพ้นจากราชการโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจได้ โดยการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190 บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ผู้พิพากษาและตุลาการพ้นจากดำแหน่ง” นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองความป็นอิสระของผู้พิพากษาในทางส่วนตัว ที่จะทำให้ผู้พิพากษามั่นใจได้ว่า การแต่งตั้งโยกย้าย และการให้พ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากราชการ ต้องเป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
เนื่องจากต้องนำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์บทบัญญัตินี้จึงเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในทางส่วนตัวที่สำคัญ และเพื่อให้ผู้พิพากษาปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 188 ดังนั้น ประธานศาลฎีกาจึงไม่อาจนำการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และกฎหมายขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมได้ เพราะนอกจากจะเป็นการละเมิดหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาแล้ว ยังเป็นการละเมิดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6
แต่กลับปรากฎว่า เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ประธานศาลฎีกาได้ออกคำสั่งให้นายชำนาญพันจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจและไม่มีความผิด อันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมาย โดยคำสั่งดังกล่าวไม่อาจระบุอ้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ้ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 72 ซึ่ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้ผู้พิพากษาพ้นจาก
ตำแหน่ง และพันจากราชการได้ แม้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทักท่วงมาถึง 2 ครั้ง
โดยครั้งแรกทักท้วงว่า กรณี การให้นายชำนาญพันจากราชการดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงทราบตามมาตรา 190 แห่งรัฐธรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และส่งเรื่องคืนสำนักงานศาลยุติธรรม
ส่วนครั้งที่ ๒ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือถึง สำนักงานศาลยุติธรรมว่า การที่ขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายชำนาญพ้นจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ โดยไม่ระบุว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามมาตราใด ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 กรณี จึงไม่อาจพิจารณาได้ว่า การให้ข้าราชการตุลาการพ้นจากตำแหน่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 190 หรือไม่ แต่ประธานศาลฎีกาก็ยังยืนยัน
ให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเพื่อให้นายชำนาญพันจากราชการตามคำสั่งดังกล่าว
การที่ประธานศาลฎีกายืนยันให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายชำนาญพันจากราชการ ทั้งที่มีข้อทักท้วงของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ถึง 2 ครั้ง ว่าเป็นการให้นายชำนาญพ้นจากราชการตามกฎหมายใด และรู้อยู่ว่าอาจจะเป็นการ
ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ที่นำการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายชำนาญพ้นจากราชการ
จึงเป็นการจงใจกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ที่บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้”
จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำของประธานศาลฎีกาที่ออกคำสั่งให้ นายชำนาญพันจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ เป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 190 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
ฝ้ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 32 และการที่นำความกราบบังคมทูล เพื่อให้ทรงมีพระบรมราชโองการให้นายชำนาญพันจากราชการ โดยขัดหรือแย้งต่อรัฐธรมนูญ และกฏหมาย เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 6