TIJ ผนึก 4 ภาคี นำเสนอ “เครื่องมือ” ทางเลือกเพื่อการสืบสวนสอบสวนที่ส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน
TIJ ผนึก 4 ภาคี นำเสนอ “เครื่องมือ” ทางเลือกเพื่อการสืบสวนสอบสวนที่ส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน
เมื่อเร็วๆนี้สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) จับมือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สมาคมเพื่อการยุติการทรมาน (Association for the Prevention of Torture – APT) และศูนย์สิทธิมนุษยชนนอร์เวย์ (NCHR) ร่วมจัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติว่าด้วยอนาคตของการสืบสวนสอบสวน: การซักถามเพื่อการสืบสวนสอบสวน
และมาตรการป้องกันที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยเพื่อพัฒนาระเบียบปฏิบัติการสอบสวนเทียบเท่าสากล ส่งเสริมหลักนิติธรรมควบคู่หลักสิทธิมนุษยชน TIJ หวังว่า ผลจากการประชุมในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการสืบสวนสอบสวนในประเทศไทยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ เกี่ยวกับ “แนวทางการปฏิบัติสากลว่าด้วยการซักถามเพื่อการสืบสวนสอบสวนและมาตรการการป้องกันที่เกี่ยวข้อง” หรือ “เครื่องมือ” ทางเลือกแห่งอนาคต
โดยมุ่งหวังให้ เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานจะเข้าใจถึงหลักการ และแก่นแท้ในการนำ “เครื่องมือ” ดังกล่าวมาปรับใช้ในการสืบสวนสอบสวน ซึ่งจะช่วยยกระดับกระบวนการยุติธรรมไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นกระบวนการที่คำนึงถึง “หลักสิทธิมนุษยชน” มากขึ้น เพราะเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมที่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน หลักความเป็นธรรม และหลักนิติธรรม จะทำให้ประชาชนก็จะเกิดความเชื่อมั่น จนก่อเกิดเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ “เข้าถึง” ประชาชนอย่างแท้จริง