กรมการพัฒนาชุมชน เผยการขับเคลื่อนภารกิจกรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2565
นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชมชนมุ่งเน้นการบริหารงาน ใน 4 มิติ คือ งาน เงิน ระบบ คน ภายใต้หลักปรัชญาขของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือ “ประชาชนมีความสุข” ตลอดระยะเวลาที่กรมการพัฒนาชุมชนก้าวเข้าสู่ปีที่ 60 ปี ได้มีการกำหนด Motto ว่า กรมการพัฒนาชุมชน สร้างสรรค์ชุมชน สร้างคน สร้างชาติ นับตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2505 เป็นต้นมา กรมการพัฒนาชุมชน ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวร่วมกับพี่น้องชาวไทย เป็นเพื่อนคู่คิดกับประชาชน ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง เทคโนโลยี และกระแสโลกาภิวัฒน์ ภารกิจ การทำงานของกรมการพัฒนาชุมชนก็ยังคง อัตลักษณ์ คือ การสร้างพลังชุมชน ใช้พลังชุมชนในการพัฒนาชุมชน ด้วยกระบวนการพัฒนาชุมชน และยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หากจะให้สรุปความสำเร็จของกรมการพัฒนาชุมชนใน 59 ปีที่ผ่านมาก็จะสรุปได้ใน 4 ประเด็น ดังนี้
1. สร้างสรรค์ชุมชนให้พึ่งตนเองได้
กรมการพัฒนาชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท ได้แก่ ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 เป็นประจำทุกปี ปัจจุบันสามารถจัดเก็บได้ทั่วประเทศ ประมาณ 12 ล้านครัวเรือน และจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช 2ค) จัดเก็บทุก 2 ปี และกรมการพัฒนาชุมชนได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางหลักในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีการ เดินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 27,275 หมู่บ้าน ประกอบกับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 4,787.9164 ล้านบาท ให้กรมการพัฒนาชุมชนดำเนินงานโครงการทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา โมเดล หรือที่เรียกกันว่า โคก หนอง นา พช. พื้นที่ดำเนินการ จำนวน 25,179 แปลง ก่อให้เกิดการพัฒนาระดับตำบลจำนวน 3,246 ตำบล และพัฒนาระดับครัวเรือนจำนวน 24,842 ครัวเรือน ประชาชนได้รับประโยชน์จากการจ้างงานจำนวน 9,188 คน
มีการพัฒนาศักยภาพชุมชน องค์การอย่างต่อเนื่อง ในปี 2564 มีการอบรมผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำนวน 15,000 คน และ มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานภาคืเครือข่าย จิตอาสาพัฒนาชุมชน ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
มีการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร จำนวน 12,120,665 ครัวเรือน มีการปลูกผักสวนครัว เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายผลสู่หน่วยงาน กลุ่ม องค์การ ระดับต่างๆ ต่อไป
มีการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผนดิน เพื่อสร้างพลังชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัจจุบันมีกองทุนแม่ของแผ่นดินที่ได้รับพระราชทานเงินขวัญถุงจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวง กองทุนละ 8,000 บาท ซึ่งมีกลไกแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยได้รับการพัฒนาระดับหมู่บ้าน จำนวน 23,765 หมู่บ้าน มีจำนวนประชาชน 2,357,361 ครัวเรือน เป็นกำลังสำคัญในการป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติด และมีเงินกองทุน เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม 637,506,647.25 บาท
2. ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
ในด้านเศรษฐกิจฐานราก กรมการพัฒนาชุมชนมีความโดดเด่นในการส่งเสริมและบริหารจัดการทุนชุมชน ซึ่งเป็นทุนที่ชุมชนเป็นเจ้าของและบริหารจัดการกันเอง ภายใต้หลักคุณธรรม จำนวนไม่น้อยกว่า 18,000 กองทุน (กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน กลุ่มผู้ใช้น้ำ เป็นต้น) โดยกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 3,623 กลุ่ม โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 5,377 กองทุน โดยมีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เป็นแหล่งทุนให้ประชาชนพัฒนาคุณภาพชีวิต 330,000 คน เป็นเงิน 25,182.1141 ล้านบาท
โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีสมาชิก 8 หมื่นกว่าราย และมีผลิตภัณฑ์ กว่า 100,000 ผลิตภัณฑ์ มียอดจำหน่ายรวมกว่า 2 แสนล้านบาท และกรมการพัฒนาชุมชนจังหวัดมีการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จำนวน 3,680 ชุมชน/หมู่บ้าน
ในปี 2564 กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมติ ครม. ในรณรงค์การใช้และสวมใส่ผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน อีกทั้งได้รับพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการพระราชทานลายผ้า ““ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ที่สร้างความตื่นตัวกระตุ้นวงการผ้าทอให้มียอดจำหน่ายกว่า 7,300 ล้านบาท
รวมถึงการจัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคี จำกัด (มหาชน) ทุกจังหวัดๆ ละ 1 บริษัท ดำเนินการใน 3 ภารกิจ ด้านการเกษตร แปรรูป และการท่องเที่ยวชุมชน โดยมีหลักในการทำงานคือ ประชาชนลงมือทำ เอกชนร่วมมือขับเคลื่อน รัฐบาลสนันสนุน
3. เสริมสร้างทุนชุมชนให้มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล
กรมการพัฒนาชุมชนมีการส่งเสริมการจัดตั้งและบริหารจัดการกองทุนชุมชน โดยส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 50,000 คน และโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 100,000 คน เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน และใช้เงินเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการทุนชุมชนเป็นกลไกในการบริหารจัดการหนี้ สร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้น เช่น กลุ่มออมทรัพย์การผลิต โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กลุ่มผู้ใช้น้ำ เป็นต้น
4. เสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูงสุด
การบริงานองค์การ โดยเฉพาะ คน นับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ผมให้ความสำคัญ คือ งาน เงิน งบ ระบบ คน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากรมการพัฒนาชุมชน มีการพัฒนาบุคลากรของกรมอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ ในทุกระดับตั้งแต่ ก่อนเข้าทำงาน ระหว่างการทำงานและการพัฒนาทักษะในแต่ละระดับ ส่งผลให้กรมการพัฒนาชุมชนได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย ล่าสุดในปี 2564 ได้รับรางวัลเลิศรัฐ รายหมวด ครบทุกหมวดเป็นหน่วยงานแรกของกระทรวงมหาดไทย และเป็นอันดับ 4 ของประเทศ
รางวัลแห่งความภาคภูมิใจปี 2564 ซึ่งผลการประเมินคุณภาพและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งผลคะแนน 97.05 อยู่ในระดับ AA
คว้ารางวัลรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2564 รางวัลหน่วยงานดีเด่น ด้านการเปิดเผยข้อมูลผ่านศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Data.go.th)
ทั้งนี้ การขับเคลื่อนภารกิจกรมการพัฒนาชุมชนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีการมุ่ง เน้นการขับเคลื่อนงานในเรื่องของการพัฒนาฐานข้อมูล bigdata ของกรมการพัฒนาชุมน ให้ใช้ศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อบริหารจัดเก็บและใช้ประโยชน์ มาบูรณาการในการแก้ปัญหาความยากจนให้กับพี่น้องประชาชนในโครงการต่างๆ ของกรมฯ โดยมีการกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ทั้งสิ้น 4 กิจกรรม ดังนี้
1. การพัฒนาที่ใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อน
– พัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้มีการวางแผนและปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
– ตอบสนองและฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด 19 อย่างมีประสิทธิภาพ
– พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของการใช้จ่ายงบประมาณ
– เสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก การจ้างงานและความอยู่ดีมีสุข
– เสริมสร้างศักยภาพองค์กรในด้านความโปร่งใส ตรวจสอบได้และติดตามผลอย่างทันท่วงที
2. การรองรับแผนการเงินที่ยั่งยืน
– ส่งเสริมการบริหารการเงินทั้งในระดับครัวเรือนและระดับวิสาหกิจชุมชน
– ส่งเสริมสถาบันการเงินให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ
– ส่งเสริมให้มีกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งในระดับครัวเรือนและวิสาหกิจชุมชน
3. การส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม
– สนับสนุนมาตรการการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม
– สนับสนุนโครงการด้านสิ่งแวดล้อม
– สร้างการตระหนักรู้แก่สาธารณะ
4. การส่งเสริมนวัตกรรมชุมชนหรือการส่งเสริมหมู่บ้าน ตำบล อำเภออัจฉริยะ
– สร้างความเชื่อมโยงและอุดช่องว่างในการให้บริการผ่านระบบ Smart Villages 2 Smart Sub – districts โดยพัฒนาจากนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยูในปัจจุบัน รวมถึงการเพิ่มการรับรู้และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
– เสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการตำบล การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชน
– เสริมสร้างความเข้มแข็งในการวางแผนและการบริหารจัดการอำเภอในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานต้องควบคู่ไปกับการจัดทำงบประมาณ ระบบพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ ระบบการเบิกจ่ายให้มีประสิทธิภาพ และการสร้างภาพลักษณ์กรมฯ โดยยึดหลักการบริหารคือ งาน งบ ระบบ คน สู่ปฏิบัติการสำคัญ ปี 2565 เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก อาทิเช่น การจัดงาน otop ภูมิภาค จำนวน 10 ครั้ง การรณรงค์ให้ทุกหน่วยงานสวมใส่ผ้าไทย การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP รวมถึง Young OTOP การส่งเสริมช่องทางการขายสินค้าขายOTOP ออนไลน์ การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โครงการปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหาร โครงการอนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน พร้อมเน้นย้ำในการดำเนินงานในทุกโครงการ ให้รักษามาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด-19) ด้วย
ทั้งนี้ขอขอบคุณทางจังหวัด อำเภอที่ช่วยกันขับเคลื่อนงานตามภารกิจกรมฯ ถึงแม้ว่าในปีที่ผ่านมามีอุปสรรคในการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ก็ยังผ่านอุปสรรคนั้นมาได้ ขอให้รักษาคุณภาพในการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนไปสู่เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ภายใน ปี 2565 ต่อไป
อีกทั้งในวันที่ 18 -26 ธันวาคม 2564 ได้กำหนดจัดงานโอทอปไทย สู้ภัยโควิด – 19 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 – 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนท่องเที่ยวจากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการเพิ่มช่องทางในการระบายสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ของชุมชน ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมอุดหนุนสินค้าในงานที่จะจัดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า เพื่อช่วยเหลือพี่น้องคนไทย กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความยั่งยืน