“ฟรุ้ทบอร์ด”เดินหน้าช่วย”ลำไย-เงาะ-ลองกอง”ต่อเนื่อง
“จุรินทร์-เฉลิมชัย”ขอบคุณคนไทยไม่ทิ้งกันช่วยซื้อมังคุดกว่า2หมื่นตันดันราคาเกินเป้า สั่ง
“ฟรุ้ทบอร์ด”เดินหน้าช่วย”ลำไย-เงาะ-ลองกอง”ต่อเนื่องจนสิ้นฤดูกาลผลิตลำไยเหนือผลไม้ใต้ปี64
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แถลงวันนี้(11ส.ค)ว่า ภายใต้นโยบายยกระดับราคาผลไม้ฤดูกาลผลิตปี2564 ของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board) โดยการขับเคลื่อนของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)ได้ออกมาตรการเชิงรุกทุกแพลตฟอร์มตามแผนบริหารจัดการผลไม้ประจำปีการผลิต2564 รวมทั้งการปรับกลยุทธ์ใหม่เน้นการบริโภคภายในประเทศทดแทนการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการโควิด19จนสามารถดึงมังคุดออกจากแหล่งผลิตจนถึงวันนี้ได้กว่า20,000ตันทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ13-15บาทสำหรับมังคุดเกรดคละและมังคุดเกรดคุณภาพ ราคาใกล้แตะที่กิโลกรัมละ 50 บาทตามรายงานล่าสุดของกรมการค้าภายในแม้จะเป็นช่วงพีคที่มีผลผลิตมังคุดออกมามากที่สุดถึง60,000ตันภายในเดือนสิงหาคมจากยอดรวมผลผลิตมังคุดภาคใต้รวมทั้งฤดูกาล1.5แสนตัน แต่เราก็สามารถยกระดับราคาได้เกินเป้าหมายจากมาตรการหลักมาตรการเสริมใหม่ๆและการแก้ไขปัญหาไปพร้อมๆกัน
“การแก้ไขปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ส่งออกขาดแคลน การแก้ปัญหาโลจิสติกส์และการแก้ไขปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานและล้งจากภาคตะวันออกลงใต้จนคลี่คลายระดับหนึ่งจากการทำงานร่วมกันของรัฐมนตรีเกษตรรัฐมนตรีพาณิชย์และผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธาน(คพจ.)ทำให้ราคามังคุดเพิ่มขึ้นเช่นกรณีจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นฮับมังคุดภาคใต้ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมมีเพียง46ล้งแต่เมื่อมีการแก้ปัญหาและผ่อนปรนมาตรการอย่างรวดเร็วทำให้ปัจจุบันมีล้งเพิ่มเป็นกว่า200รายและแผงรับซื้อผลไม้กว่า400แผงที่เข้าไปรับซื้อในพื้นที่และการกลับมาเปิดบริการของบริษัทขนส่งเช่นไปรษณีย์ไทย เคอรี่ส่งผลให้กลไกและระบบการค้าฟื้นกลับมา”
นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า ผลการดำเนินงานดังกล่าวมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐภาคเอกชนและภาคเกษตรกรไม่ว่าจะเป็น
มาตรการการเชื่อมโยงและกระจายมังคุดออกนอกแหล่งผลิต โดยสนับสนุนค่าบริหารจัดการแก่ศูนย์กระจายในจังหวัดแหล่งผลิต กก.ละ 3 บาท เพื่อกระจายมังคุดจำนวน 16,950 ตัน ออกนอกแหล่งผลิตโดยเร็ว มาตรการสนับสนุนค่าขนส่งและค่ากล่องโดยกรมการค้าภายในร่วมกับบริษัทไปรษณีย์ไทยสนับสนุนกล่องบรรจุภัณฑ์ที่มีสติกเกอร์ติดกล่องทั้งกล่องฟรีและส่งฟรีผลไม้ทั่วประเทศจำนวน 200,000 กล่องๆ ละ 10 กก. เพื่อช่วยกระจายผลไม้ 2 ล้านกิโลกรัม มาตรการการกระจายมังคุดผ่านระบบร้านค้าส่ง-ค้าปลีก ร้านธงฟ้า และเครือข่ายบริษัมน้ำมันเช่นบริษัท พีทีจี เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) เครือข่ายทายาทร้านค้าส่ง-ค้าปลีก (YTS) กว่า 100 สาขาทั่วประเทศบริษัทสยามแม็คโคร โลตัส เซ็นทรัล เดอะมอลล์ บิ๊กซี ซีพีออลล์ มากกว่า 1 ล้านกิโลกรัม ขณะเดียวกันสถานีบริการน้ำมันพีทีที สเตชั่น และสถานีการน้ำมันบางจาก ยังมีการแจกมังคุดให้ผู้บริการเติมน้ำมันในเขตกรุงเทพฯ
รวมทั้งกลยุทธ์ล่าสุดคือโครงการ”เกษตรกรแฮปปี้”ภายใต้แนวคิด”คนกินยิ้มได้ เกษตรกรไทยแฮปปี้” บนความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดีอี กระทรวงมหาดไทย(คพจ.) บริษัทไปรษณีย์ไทย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด (ท็อปส์ มาร์เก็ต และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์) บริษัท แกร็บ ประเทศไทย เครือข่ายร้านธงฟ้า คณะอนุกรรมการอีคอมเมิร์ซ และคณะอนุกรรมการธุรกิจเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ.สามารถระบายขายมังคุดเกรดคละได้กว่า100ตันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์โดยไม่ได้ใช้งบประมาณภาครัฐ ทั้งนี้ยังมีโครงการระบายมังคุดผ่านระบบสหกรณ์อีกหลายร้อยตันทั้งรูปแบบการซื้อขายและแลกเปลี่ยนมังคุดกับสินค้าเกษตรระหว่างสหกรณ์ตลอดจนโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ. กระทรวงพาณิชย์กับททบ.5กองทัพบก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและโครงการกระจายผลไม้ผ่านหน่วยงานรัฐและรัฐสภา ฯลฯ เราพยายามอย่างที่สุดเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอาจมีบางส่วนบางพื้นที่ที่ยังมีปัญหาด้านการขายและราคาก็พร้อมจะเข้าไปดูแลทันทีเช่นกรณีมังคุดภูเขา”คีรีวง”ของนครศรีธรรมราชมีปัญหาพอแจ้งมาเราก็ส่งทีมเกษตร-พาณิชย์ลงไปดูแลทันทีภายใน24ชั่วโมง
นายอลงกรณ์ พลบุตร ในฐานะหัวหน้าทีมบริหารจัดการผลไม้เฉพาะกิจของฟรุ้ทบอร์ดยังกล่าวต่อไปว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ Fruit boardและนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีพาณิชย์ ได้สั่งการให้ฟรุ้ทบอร์ดเร่งช่วยเหลือชาวสวนลำไยและเงาะที่มีราคาลดลงในช่วงกลางฤดูผลิตและลองกองอีกกว่า4หมื่นตันที่กำลังจะออกมาเป็นการล่วงหน้าโดยด่วนพร้อมกันนี้ยังได้ขอบคุณและเชิญชวนทุกภาคส่วนช่วยกันสนับสนุนซื้อผลไม้ไทยเพื่อช่วยชาวสวนให้ได้ราคาที่เป็นธรรมมีรายได้เพิ่มขึ้นจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูกาลผลไม้ปี2564
นอกจากนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)ยังได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ.เช่นกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์
กรมวิชาการเกษตร และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)เร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลไม้และระบบตรวจสอบย้อนกลับ(Traceability)รวมทั้งมาตรการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19(COVID Free)ตามยุทธศาสตร์เกษตรปลอดภัยและให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจภายใต้ฟรุ้ทบอร์ดจัดทำแผนปฏิรูปการบริหารจัดการผลไม้เชิงโครงสร้างทั้งระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาวภายใน90วันโดยฟรุ้ทบอร์ดมอบที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ.เป็นประธานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซากทุกปีโดยเฉพาะให้สร้างกลไกที่พร้อมปฏิบัติการฉุกเฉินได้ทันทีเมื่อเกิดปัญหาเฉพาะหน้าเช่นกรณีปัญหาการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในปีนี้ที่ต้องปรับกลยุทธ์และปรับแผนแม้จะทำได้รวดเร็วก็ตามแต่ยังเป็นมาตรการเฉพาะกิจบางครั้งต้องมีการประชุมทำให้เกิดปัญหาขั้นตอนราชการกว่าจะอนุมัติมาตรการใหม่ๆก็ต้องใช้เวลาไม่ทันการแก้ปัญหาแบบเร่งด่วน เหตุการณ์ปีนี้คือบทเรียน ทั้งนี้
จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่าในเดือนมิถุนายนปีนี้การส่งออกผลไม้เพิ่มขึ้น185%และมังคุดส่งออกขยายตัวกว่า400%แต่พอถึงเดือนกรกฎาคมเกิดการการแพร่ระบาดของโควิด19ภายในประเทศที่รุนแรงมากขึ้นทำให้มีการออกมาตรการล็อคดาวน์เพิ่มขึ้นขณะเดียวกันประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่สุดของผลไม้ไทยรวมทั้งเวียดนามและลาวที่เป็นเส้นทางการขนส่งได้ยกระดับมาตรการป้องกันโควิด19เข้มข้นมากขึ้นทำให้ตู้คอนเทนเนอร์หมุนกลับมาไม่ทันล้งเคลื่อนย้ายไปภาคใต้ได้น้อยมากส่งผลกระทบต่อระบบโลจิสติกส์ กลไกการค้าและราคาผลไม้จะเห็นว่าในสถานการณ์โควิด19มีโอกาสเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดได้ตลอดเวลา จึงต้องปรับการบริหารและโครงสร้างใหม่เพื่อรับมือกับวันข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายอลงกรณ์กล่าวว่า ทางด้านกระทรวงพาณิชย์ทำงานเชิงรุกตลอดเวลาเช่นกัน ล่าสุด นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เร่งรัดการเปิดตลาดใหม่ด้วยโครงการจับคู่ธุรกิจเพื่อเจรจาการค้าผ่านระบบออนไลน์ในตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกา และลาตินอเมริกาซึ่งผู้เข้าร่วมเจรจาธุรกิจเป็นผู้ส่งออกไทยจำนวน 123 บริษัท และมีผู้ซื้อ ผู้นำเข้าสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 74 ราย เกิดการจับคู่ธุรกิจได้จำนวน 123 คู่ ก็เป็นอีกมาตรการเพื่อขยายตลาดส่งออกโดยเฉพาะผลไม้และผลิตภัณฑ์ผลไม้ของไทย