อย. ฟิลิปปินส์ รับทุนต่างชาติ ส่อแทรกแซงนโยบายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าภายในประเทศ

อย. ฟิลิปปินส์ รับทุนต่างชาติ ส่อแทรกแซงนโยบายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าภายในประเทศ

สส.ฟิลิปปินส์และผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเกี่ยวกับยาสูบระดับโลก เรียกร้องให้มีการตรวจสอบกรณี องค์การอาหารและยา หรืออย. ของฟิลิปปินส์ รับเงินสนับสนุนจากองค์กรเอกชน หวั่นการแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบ และละเมิดสิทธิของประชาชนฟิลิปปินส์ ทั้งการมีส่วนร่วมร่างกฎหมายและทางเลือกในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์อย่างบุหรี่ไฟฟ้าที่ลดสารอันตรายได้มากกว่าบุหรี่เผาไหม้ใบยาสูบ
ตามรายงานข่าวโดย เวบไซต์ มะนิลา ไทม์ส สื่อใหญ่ของฟิลิปปินส์ (www.manilatimes.net) ระบุว่า สมาชิกสภาผู้แทน 2 รายของฟิลิปปินส์ นาย ดีโอกราเซียส ซาเบญาโน และนาย เอสเตรลญิตา ซูอานซิง ยื่นจดหมายต่อรัฐสภาฟิลิปปินส์ เรียกร้องให้ตรวจสอบกรณีองค์การอาหารและยา หรือ อย. ฟิลิปปินส์ รับเงินสนับสนุนที่ไม่ชอบมาพากลจากองค์กรเอกชนต่างชาติของ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการคัดค้านการกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์นิโคตินที่ใช้สำหรับทดแทนการสูบบุหรี่แบบเผาไหม้ และหวั่นเกรงอิทธิพลขององค์กรเหล่านั้นในการตัดสินใจกำหนดนโยบายเกี่ยวข้องกับการควบคุมยาสูบ โดยละเลยต่อสิทธิของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ที่ควรได้รับทางเลือกที่เอื้อประโยชน์อย่างเป็นจริง
สส.ฟิลิปปินส์ยังเรียกร้องให้ อย. ฟิลิปปินส์ ชะลอการดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าไว้ก่อน ระหว่างรอสภาผู้แทนฯตรวจสอบความโปร่งใสเรื่องเงินทุนสนับสนุน เนื่องจากหลักเกณฑ์ฉบับร่างนั้นยังมีจุดบกพร่อง ทั้งไม่เป็นที่ยอมรับและไม่ได้รับฟังเสียงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน
การเรียกร้องนี้เกิดขึ้นหลังจากฟิลิปปินส์ได้เปิดเวทีไต่สวนสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกฝ่าย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ปี 2563 เพื่อจัดทำร่างกฎหมายเกี่ยวกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน และพบว่า อย. ได้รับทุนสนับสนุนจาก เดอะ ยูเนียน และมูลนิธิบลูมเบิร์ก องค์กรเอกชนจากสหรัฐที่เคลื่อนไหวต่อต้านยาสูบทุกประเภทรวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า
นายซาเบญาโน สส. ฟิลิปปินส์ ได้กล่าวกับ มะนิลา ไทม์ ว่า “การที่อย. และหน่วยงานหรือสถาบันของรัฐอื่นๆ รับเงินทุนจากองค์กรเหล่านั้น มีความเป็นไปได้สูงที่ทางเจ้าของทุนจะเข้ามาแทรกแซงและร่วมกำหนดทิศทางของนโยบายที่เกี่ยวกับกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเพิกเฉยต่อสวัสดิภาพของผู้บริโภค โดยละเลยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สมเหตุสมผลและวิธีปฏิบัติที่เป็นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง”
ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณสุขระดับสากลหลายคน ชี้ว่ากรณี อย. ฟิลิปปินส์รับเงินจากองค์กรเอกชนเหล่านี้ อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายและผิดจรรยาบรรณ ทั้งขาดความโปร่งใสเนื่องจากไม่เปิดเผยตัวเลขเงินทุนและรายละเอียดในการใช้ทุนอย่างชัดเจน รวมถึงการปล่อยให้มูลนิธิบลูมเบิร์กซึ่งเป็นองค์กรที่รณรงค์ต่อต้านการใช้บุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งไม่มีประสบการณ์ด้านนโยบายสาธารณสุข เข้ามามีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายควบคุมบุหรี่ทุกประเภท โดยไม่พิจารณาความต้องการของผู้สูบบุหรี่ ถือว่าละเมิดสิทธิประชาชนฟิลิปปินส์อย่างเห็นได้ชัด

You may have missed