เช็คยอด !! รถครัวสนาม ยุทโธปกรณ์ สายพลาธิการ 160 คัน ทั่วประเทศ พร้อมออกพื้นที่ ทำอาหาร สุก ใหม่ ร้อน แจกชาวบ้าน ที่เดือดร้อน-ขาดรายได้ จากสถานการณ์ CoViD-19
เผย สเปค ทำอาหารได้ มื้อละ 3,000 กล่อง
“บิ๊กแดง” สั่งลงพื้นที่ ทั่วประเทศ ดูแลประชาชน
ปฏิบัติการ รบเงียบ!!
รถครัวสนาม เริ่มกำเนิดขึ้น ตั้งแต่เกิด สึนามิ 2547 ที่ ทบ. ต้องไปช่วยดูแลประชาชน ที่พังงา
จึงมีการต่อรถครัวสนามขึ้น เริ่มตั้งแต่ เป็นรถลากพ่วง จำนวน2 คัน แต่ไม่เพียงพอ กับภารกิจในหลายจุด
ต่อมา ทบ.เริ่มต่อเพิ่ม.อีก4 คัน ให้ประจำ กองทัพภาคละ1 คัน
แต่ภารกิจในการช่วยเหลือประชาชน ที่เกิดเหตุภัยพิบัติขึ้นเสมอ ทั้งเล็ก และใหญ่โดยเฉพาะน้ำท่วม ทั้งลพบุรี ปักธงชัย โคราช อยุธยา สงขลา หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี จนมาน้ำท่วมใหญ่ ปี2554
แม้แต่เหตุการณ์สู้รบ ที่เขาพระวิหาร ก็ไปทำอาหารให้ชาวบ้าน ที่ ได้รับผลกระทบ ที่ ศรีสะเกษ สุรินทร์
จนมีการต่อรถครัวสนามเพิ่ม แต่เปลี่ยนจากรถพ่วง มาเป็น รถยนต์ที่แล่นไปไหนมาไหนเองได้ สะดวก
โดยให้กรมพลาธิการทหารบก รับผิดชอบ และแจกจ่ายไปตามหน่วยต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ตอนนี้ มีราวแค่ 160 คัน. ที่ยังไม่เพียงพอ ที่จะเป็นรถประจำหน่วย
แต่แจกจ่ายในหน่วยใหญ่ ในแต่ละจังหวัด มีครบทุกจังหวัด แต่ไม่ครบทุกหน่วย ถ้ามีสถานการณ์ ก็ให้หน่วยที่มีรถครัวสนาม ออกปฏิบัติหน้าที่
บนรถครัวสนาม ของ กรมพลาธิการทหารบก มี ถังเก็บน้ำดื่มขนาดไม่น้อยกว่า 200 ลิตร หม้อหุงข้าวแบบใช้แก๊สขนาดความจุ 10 ลิตร 4 หม้อถังแก๊สขนาดความจุแก๊ส 48 กิโลกรัม 4 ถัง. ตู้แช่อาหารแบบเปิด4 บาน ขนาดความจุ 36 คิวบิกฟุต. เตาทอดอาหารแบบDeep Frying เตาสำหรับวางกระทะและหม้อต้ม หัวเตาแก๊ส2 หัวปั๊มน้ำพร้อมอุปกรณ์ และระบบเชื่อมต่อภายนอก และ อ่างล้างจาน
รถยนต์บรรทุก6 ล้อความยาวส่วนบรรทุก 5.5 เมตรกว้าง 2 เมตรเครื่องยนต์ดีเซล 5000 ซีซี ติดกล้องสำหรับมองภาพด้านหลังด้านหน้า และด้านหลังติดไฟ พลางทางยุทธวิธี
ทั้งหมดนี้ รวมอยู่ในรถคันเดียว ที่ใช้งบฯสร้างรถครัวสนาม คันละ 4-5 ล้านบาท รวมอุปกรณ์ครบ
โดยรถครัวสนามคันหนึ่ง จะมีทหารประจำรถ 12 นาย นำโดยนายทหาร1 นาย ที่เหลือเป็น จ่า นายสิบ
ทำหน้าที่ พลขับ 2 ช่างประจำรถ2 นาย พ่อครัว2 นาย และพลทหาร อีก5 นาย มาเป็นลูกมือ
เนื่องจาก ทบ. ไม่ได้มีอัตราบรรจุกำลังพล สำหรับรถครัวสนาม โดยเฉพาะ แต่ใช้ ทหารในหน่วย โดยเฉพาะ ในโรงเลี้ยง ออกไปปฏิบัติหน้าที่. จึงทำให้ในหน่วย ขาด พ่อครัว โรงเลี้ยง ไป ในหน่วยก็ต้องหา พ่อครัวสำรองกันเอง
แต่ถึงเวลาจริง ทั้งพลขับ ช่าง ก็ต้องมาช่วยงานครัวกันหมด ไม่มีใครอยู่นิ่ง ทำแต่หน้าที่หลักของตนเอง เรียกได้ว่า เป็น ทีมรถครัวสนาม
ยิ่งในยามไปปฏิบัติหน้าที่ เมื่อเกิดภัยพิบัติ ยิ่งยาก เพราะในพื้นที่ ไม่มีอาหารสด ให้ซื้อ ไม่มีตลาด ตลาดปิด. ทหาร ก็ต้องไปเดินตามบ้าน ใครมีไก่ มีไข่ ขอซื้อมาก่อน มาทำอาหารแจก
ดังนั้น ได้รับภารกิจด่วน ก็ต้องหาทางซื้ออาหารจาก กรุงเทพฯ หรือในเมืองไปก่อน
แม้ รถครัวสนาม และทหารเหล่าพลาธิการ ที่ออกสนาม จะไม่ใช่หน่วยรบ แต่ถือว่า เป็นการรบเงียบ เป็นการรบอีกรูปแบบหนึ่ง รบกับความเดือดร้อนของประชาชน
ทั้งการลุยน้ำ ยันเอว ยันอก เอาข้าวไปแจกชาวบ้านให้ได้. ตื่นกันแต่ ตี3ตี4 เตรียมอาหาร
โดยต้องมีการปรับเปลี่ยนเมนู ในแต่ละมื้อ แต่ละวัน ไม่ให้น่าเบื่อ จำเจ ที่สำคัญต้องสะอาด และอร่อยมากๆ ด้วย
คนเป็น ทหารพลาฯ ก็เหนื่อยไม่น้อย แต่พอเห็นรอยยิ้มชาวบ้าน ที่ได้รับอาหาร ข้าวกล่อง กินประทังชีวิต ทหารก็หายเหนื่อย
โดยยึด ม็อตโต้ “อิ่มท้อง ของครบ รบเงียบ เฉียบบริการ”
มาตอนนี้ สถานการณ์โควิดฯ รถครัวสนาม กว่า160 คัน กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดย กรมพลาธิการทบ. ได้ ส่งทหารไป สอนการใช้อุปกรณ์ต่างๆ การดูแลซ่อมบำรุงไว้แล้ว. ก็สามารถ ออกช่วยชาวบ้าน ได้ทันที
ตามคำสั่งของ บิ๊กแดง พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ที่สั่งการให้หน่วย นำรถครัวสนาม ออกทำอาหารแจกประชาชน ที่เดิอดร้อน ไม่มีเงินซื้ออาหาร ให้ทั่วถึง
โดยเน้นย้ำเพิ่มเติมที่ ความสะอาด การแต่งกาย ของพ่อครัว และลูกมือ ทุกคน สวมแมสก์ สวมหมวก ใส่ถุงมือ ออกปฏิบัติการ รบเงียบ
นี่จึงเป็น อีก สนามรบ ของทหาร ที่ไม่ใช่การจับปืน ต่อสู้กับข้าศึก แต่เป็นการรบ กับความทุกข์ยากชอง ประชาชนในทุกสถานการณ์
Fb.Wassana Nanuam