จัดแข่งหุ่นยนต์ ส.ส.ท.ปี2562 ปั้นบุคลากรด้าน Robotics&Automations ดันสู่นานาชาติ
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาในเรื่องเทคโนโลยีของหุ่นยนต์ให้แก่เยาวชนไทย ทั้งในระดับอุดมศึกษาและมัธยมศึกษาผ่านการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภทการแข่งขัน คือ การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย (ระดับอุดมศึกษา)
การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท.-สพฐ. ยุวชน (ระดับมัธยมศึกษา) และการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. – PLC Competition (ระดับอุดมศึกษา) และรางวัลประกวดกองเชียร์ เพื่อสร้างสีสันและกำลังใจให้แก่ทีมต่างๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขันและการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2562 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1-2 มิถุนายน 2562 ณ ห้องไดมอนด์ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต ซึ่งได้ปิดฉากลงเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับความสำเร็จของทั้งผู้จัดและนิสิต นักศึกษา นักเรียน ทุกโรงเรียน ทุกสถาบันที่เข้าร่วมการแข่งขัน
ตลอดระยะเวลา 26 ปีของการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ระดับอุดมศึกษา 19 ปี ในระดับยุวชน และ 14 ปี ในประเภทการแข่งขัน ส.ส.ท. – PLC Competition ส.ส.ท. ได้สร้างสีสันและเกมการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ท้าทายความสามารถของเหล่านิสิตนักศึกษา นักเรียน มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เยาวชนรู้จักการทำงานเป็นทีมและนำ
ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา มาใช้ให้เกิดประโยชน์และการที่เยาวชนได้ร่วมกันคิด ร่วมกันประดิษฐ์ ร่วมกันแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่มากไปกว่านั้น คือ การแสดงออกซึ่งความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาด้วยการจับมือแสดงความยินดีกับผู้ชนะนั้น สร้างความน่าชื่นชมและถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์
ต้องขอแสดงความยินดีกับทุกทีม ทุกสถาบันการศึกษา ที่ได้รับถ้วยรางวัลอันทรงเกียรติ จากการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2562 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีรวมทั้งขอขอบคุณและชื่นชมสถาบันการศึกษาที่ส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขันถึงแม้จะพลาดรางวัลในปีนี้ก็ตามแต่สิ่งที่ได้กลับไปจากเวทีการแข่งขันแห่งนี้คือประสบการณ์ และความทรงจำดีดีการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2562 มีนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ 21 สถาบัน 39 ทีม ให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งทาง ส.ส.ท. ได้จัดการแข่งขันเพื่อเฟ้นหาแชมป์หนึ่งเดียวของไทยในระดับอุดมศึกษา ภายใต้เกมการแข่งขัน “ขี่ม้าส่งสาร สะท้านขุนเขา”
โดยในปี 2562 (ค.ศ. 2019) การแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest (ABU Robocon) ซึ่งประเทศมองโกเลีย ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ภายใต้แนวคิด ธีม และกติกาการแข่งขัน GREAT URTUU ที่ได้นำรูปแบบการส่งต่อข้อมูลอย่างรวดเร็ว มาปรับใช้ในการแข่งขันและเราก็ได้ผู้ชนะที่ได้สำเร็จ คว้ารางวัลถ้วยรางวัลพระราชทานไปครอง นั่นคือ ทีม ลูกเจ้าแม่คลองประปา The Attempt จากมหาวิทยาลัยธุรกิตบัณฑิตจะได้แชมป์จาก ส.ส.ท. ไปแล้วก็ตามแต่ก็ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะ 8 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบมา จะต้องเข้าร่วมชิงชัยกับอีก 8 ทีมสุดท้ายจากระดับอาชีวศึกษา ในการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Robot Contest Thailand 2019 จัดโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และผู้ที่ชนะเลิศการแข่งขัน ABU Robot Contest Thailand 2019 จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขัน ABU ROBOCON 2019 ที่ประเทศมองโกเลียเป็นเจ้าภาพ
มาดูกันที่สนามแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. PLC Competition กันบ้าง ปีนี้จัดการแข่งขันภายใต้ชื่อเกม “Robo Havester” หรือ หุ่นยนต์เก็บผลไม้ เป็นการแข่งขันประดิษฐิ์หุ่นยนต์สำหรับเอื้อประโยชน์ในการทำเกษตรกรรม โดยเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาที่มีความรู้ด้าน PLC (Program Logic Controller) ได้นำความรู้ทางด้านทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการควบคุมกลไกนำไปสู่การประดิษฐ์หุ่นยนต์ ให้สามารถเลียนแบบลักษณะการเคลื่อนไหวของมนุษย์ สำหรับการแข่งขันนี้ทีมที่เข้าแข่งขันจะต้องประดิษฐ์หุ่นยนต์ด้วยโปรแกรม PLC ให้สามารถตรวจวิเคราะห์ผลไม้จากต้นไม้ แล้วเก็บเกี่ยวผลไม้สุก และผลไม้เน่าแยกออกจากกัน และเราก็ได้ทีมที่สามารถโปรแกรมหุ่นยนต์ได้แม่นยำคว้าแชมป์การแข่งขัน หุ่นยนต์ ส.ส.ท. PLC Competition 2019 ไปครอง นั่นคือ ทีม TNI48 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
มาดูกันต่อที่สนามหุ่นยนต์ ส.ส.ท.-สพฐ. ยุวชน ระดับมัธยมศึกษากันบ้าง ปีนี้เรียกความสนใจจากผู้ชมได้มากเลยทีเดียว ถึงขนาดมุงดูกันเต็มรอบสนามการแข่งขัน ที่สนามนี้ต้องถูกมุงดูอย่างมากมายนั้น ก็เพราะทั้งการแข่งขัน “Robo Bit Racer หรือ หุ่นยนต์เจ้าสนาม”เกมการแข่งขันสร้างและเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามเส้นในแบบอัตโนมัติ โดยใช้บอร์ด Micro bit ทีมที่ทำภารกิจครบและเร็วที่สุดจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขันนี้ ซึ่งทีมที่เป็นผู้ชนะได้แก่ ทีม SKNROBOT #01 จาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี และการแข่งขันหุ่นยนต์ Mission Challenge หรือ หุ่นยนต์พิชิตภารกิจ เป็นการแข่งขันสร้างและเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำภารกิจผ่านสิ่งกีดขวาง และความเป็นอุปสรรคต่อพื้นสนาม ซึ่งกฎเกณฑ์ กติกา และสภาพแวดล้อมของสนามจะเปลี่ยนไปในทุกๆครั้งที่แข่งขัน ทีมที่มีทักษะและไหวพริบเท่านั้นจึงจะเป็นผู้ที่ชนะ ซึ่งทีมที่เป็นผู้ชนะได้แก่ ทีม PYP02 จาก โรงเรียนแปลงยาวพิทยาคม
จากการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ทุกประเภท นักเรียนและนิสิต นักศึกษา ทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันต่างรู้สึกว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่หาได้ยากและได้เปิดโอกาสให้กับตนเองในหลายๆ ด้าน เช่น ความคิด ความสามารถ ประสบการณ์ ซึ่งจะสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตของตนเองและถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้ น่าประทับใจกับความคิดเล็กๆ ที่เริ่มเจริญงอกงาม อันนำไปสู่การขยายความคิดของการแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายต่อไปในอนาคต แต่เหนือสิ่งอื่นใดการแข่งขันในครั้งนี้ และทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา เราได้เห็นและชื่นชมความสามารถของนักเรียน
นิสิต นักศึกษา ที่ร่วมแรง ร่วมใจ ผสานกันเป็นหนึ่งเดียว พร้อมทั้งได้รับมิตรภาพที่ดีจากทีมผู้เข้าแข่งขันด้วยกัน และกลับมาพบกับพวกเขาเหล่านี้ได้อีกครั้งใน “การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2562 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ผลการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2562ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รางวัล หุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 26 (ระดับอุดมศึกษา) เกมการแข่งขัน: “ขี่ม้าส่งสาร สะท้านขุนเขา”
รางวัลชนะเลิศ (เงินรางวัล 50,000 บาท) ลูกเจ้าแม่คลองประปา The Attempt มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
รองชนะเลิศ อันดับ 1 (เงินรางวัล 30,000 บาท) ลูกเจ้าแม่คลองประปา All Star Return มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
รองชนะเลิศ อันดับ 2 (เงินรางวัล 10,000 บาท) PIT-BOT สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
รองชนะเลิศ อันดับ 2 (เงินรางวัล 10,000 บาท) iRAP Fe มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เทคนิคยอดเยี่ยม (เงินรางวัล 10,000 บาท) KANKRAO THE NEXT GEN มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
TPA Robot of The Year (เงินรางวัล 10,000 บาท) GOLDGEAR สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
รางวัล ส.ส.ท. PLC Competition ครั้งที่ 14 (ระดับอุดมศึกษา) เกมการแข่งขัน: “Robo Havester” หรือหุ่นยนต์เก็บผลไม้
รางวัลชนะเลิศ (เงินรางวัล 50,000 บาท) TNI48 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
รองชนะเลิศ อันดับ 1 (เงินรางวัล 30,000 บาท) iSuccess มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
รองชนะเลิศ อันดับ 2 (เงินรางวัล 10,000 บาท) OverSize มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา
รองชนะเลิศ อันดับ 2 (เงินรางวัล 10,000 บาท) Witch doctor มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เทคนิคยอดเยี่ยม (เงินรางวัล 10,000 บาท) iSuccess มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
รางวัล หุ่นยนต์ ส.ส.ท.-สพฐ. ยุวชน ครั้งที่ 19 (ระดับมัธยมศึกษา) เกมการแข่งขัน: “Robo Bit Racer หรือ หุ่นยนต์เจ้าสนาม”
รางวัล ชนะเลิศ (เงินรางวัล 15,000 บาท) SKNROBOT #01 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
รองชนะเลิศ อันดับ 1 (เงินรางวัล 10,000 บาท) RK-ROBOT ID โรงเรียนร่องคำ
รองชนะเลิศ อันดับ 2 (เงินรางวัล 5,000 บาท) BRR Junior โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎ์
รองชนะเลิศ อันดับ 2 (เงินรางวัล 5,000 บาท) PYP01 โรงเรียนแปลงยาวพิทยาคม
เกมการแข่งขัน: “Mission Challenge หรือ หุ่นยนต์พิชิตภารกิจ”
รางวัล ชนะเลิศ (เงินรางวัล 15,000 บาท) PYP02 โรงเรียนแปลงยาวพิทยาคม
รองชนะเลิศ อันดับ 1 (เงินรางวัล 10,000 บาท) Y.W. โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร
รองชนะเลิศ อันดับ 2 (เงินรางวัล 5,000 บาท) CBRobot โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล
รองชนะเลิศ อันดับ 2 (เงินรางวัล 5,000 บาท) PRC mee โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
Robo Rescue Super Team (เงินรางวัล 10,000 บาท)
BCC Robot โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย Y.W.โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร
รางวัล ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี โดย สถาบันเทคโนโลยีไทย–ญี่ปุ่น
รางวัลชนะเลิศ “Robo Bit Racer หรือ หุ่นยนต์เจ้าสนาม” SKNROBOT #01 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
ชนะเลิศ “Mission Challenge หรือ หุ่นยนต์พิชิตภารกิจ” PYP02 โรงเรียนแปลงยาวพิทยาคม