จัดโครงการ “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทองเชิงพาณิชย์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง”
บทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวข้ามความท้าทายเพื่อบรรลุเป้าหมาย ขจัดปัญหาในปัจจุบันและวางรากฐานเพื่ออนาคต จากองค์ความรู้จากการทำงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
โดยในจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้หลากหลายชนิด (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2559) เป็นเมืองมหัศจรรย์แห่งผลไม้ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้หลากหลายชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลางสาด สับปะรดห้วยมุ่น เป็นต้น
แต่ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือ ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล โดยเป็นสายพันธ์ที่มีความต้องการของผู้บริโภคและมีราคาสูงนิยมรับประทานกันมากทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเป็นผลไม้ที่สำคัญของเศรษฐกิจด้านการส่งออก ปัจจุบันยังไม่มีการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication, GI) เนื่องจากขาดข้อมูลทางวิชาการสนับสนุน ได้แก่ความโดดเด่นจากทุเรียนพันธุ์อื่น ๆ ด้านพันธุกรรมและความสัมพันธ์เชื่อมโยงทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนระบบการควบคุมภายใน เป็นต้น และเกษตรกรส่วนใหญ่พบปัญหาสำคัญในการผลิตทุเรียนพันธุ์หลงลับแลและหมอนทองในปัจจุบัน คือ ทุเรียนมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากการขาดธาตุอาหารหรือปริมาณธาตุอาหารที่มีในดินไม่เพียงพอต่อการผลิต การไว้ผลต่อต้นไม่เหมาะสมและปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนใต้ทำลายผลทุเรียน
คณะผู้ดำเนินการจัดการความรู้ได้ตระหนักถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทองเชิงพาณิชย์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง” ขึ้นโดยหัวหน้าโครงการและผู้ร่วมจัดทำโครงการได้มีการสะสมความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวทุเรียนหลงลับแลและหมอนทอง ในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์ จากการทำงานวิจัยหลายโครงการและสะสมความรู้จากการเข้าไปพูดคุยปัญหากับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนหลงลับแลและหมอนทอง ในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้ได้รับรู้ปัญหาของเกษตรกรโดยตรง ทำให้เกิดโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาคุณภาพของผลผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทอง และเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรอีกด้วย
….
โดย ผศ. ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดี คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดอบรมการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทองเชิงพาณิชย์ ในวันที่ 21-22 มิถุนายน 2564 ณ จังหวัดอุตรดิตถ์