ทำไมไทยไม่ตรวจโควิด แบบปูพรม!?

ข้อมูลจากข่าวในApp Blockdit น่าสนใจมากลองอ่านดูกันนะครับ

ในที่สุดเมื่อเช้าหมอทวีศิลป์ โฆษก ศบค. ออกมาให้เหตุผลชัดๆแล้วนะครับ ว่าทำไมทางการไทย และวงการสาธารณสุขไทยถึงไม่ยอมใช้วิธีการตรวจแบบปูพรมตรวจสุ่มตรวจไปเรื่อยๆในวงกว้างแบบประเทศเกาหลีใต้ หรือประเทศที่เจริญแล้วประเทศอื่นๆ

คือ หมอทวีศิลป์เขาแจงไว้ว่าอย่างนี้ครับ ประเทศไทยมีทรัพยากรทางด้านการตรวจสอบไวรัสไม่เพียงพอ ชุดตรวจนั้นมีเพียงพอให้ดำเนินการตรวจได้แค่เพียงวันละ 10,000 เคส ในต่างจังหวัด และอีก 10,000 เคสในกรุงเทพฯ รวมเป็น 20,000 เคสต่อวัน

ส่วนเรื่องที่บอกว่าจะตรวจให้ได้ถึงวันละ 100,000 เคสนั้นยังต้องรอเรื่องของน้ำยาตรวจ และการพัฒนาชุดตรวจที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังร่วมวิจัยอยู่กับเอกชน ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นความเป็นไปได้ในการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการตรวจที่ชัดมากขึ้นแล้ว (สามารถลดจากต้นทุน 4,500 บาท เหลือ 1,500 บาท)

และในวิธีคิดของสาธารณสุขไทยนั้น การตรวจแบบปูพรมไปมากๆเพื่อสุ่มหาคนมีเชื้อให้ได้มากที่สุดนั้น เป็นวิธีที่สิ้นเปลือง และไม่ได้สร้างผลดีในระยะยาว เพราะถึงจะตรวจวันนี้ไม่เจอ แต่พรุ่งนี้หรือวันรืนมาตรวจอีกอาจจะเจอก็ได้ เพราะระยะเวลาการฟักตัวของเชื้อในตัวของแต่ละคนมันไม่ได้พร้อมกัน

** คนแต่ละคนรับเชื้อมาคนละเวลา คนละสถานที่กัน ทฤษฎี 14 วันของร่างกายแต่ละคนจึงไม่ตรงกัน บางคนรับเชื้อวันที่ 3 ของเดือน บางคนรับเชื้อวันที่ 1 ของเดือน การแสดงผลย่อมแตกต่างกัน ทำให้การตรวจแบบปูพรมนั้นอาจไม่ได้สร้างผลลัพธ์ที่น่าพอใจนัก

ดังนั้นต่อให้ตรวจวันนี้ไม่เจอ หรือผลเป็นลบแล้ว อีก 2-3 วันถ้าเดินทางไปอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือไปติดต่อเชื้อไวรัสมาจากคนอื่นก็มีโอกาสติดได้ ดังนั้นรอให้มีอาการมาก่อนแล้วค่อยตรวจน่าจะดีต่อทรัพยากร และกำลังบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำกัดมากกว่า

ลองหันไปดูของอิตาลี ที่มีจำนวนประชากรค่อนข้างใกล้เคียงกับไทย คือ 65,000,000 คน อัตราส่วนประชากรที่เข้ารับการตรวจกว่า 700,000 เคส เจอผู้ติดเชื้อแค่ 12,000 กว่าคนเท่านั้น เทียบกับของไทยอัตราส่วนประชากรที่เข้ารับการตรวจกว่า 70,000 เคส เราเจอผู้ติดเชื้อตั้ง 2,000 กว่าคน

จะเห็นว่าในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน ถ้าเราตรวจ 700,000 เคสบ้างแบบอิตาลี เรามีโอกาสที่จะเจอผู้ป่วยมากกว่าอิตาลีอีก การตรวจของสาธารณสุขไทยไม่ได้ด้อยคุณภาพ หรือปิดบังตกแต่งตัวเลขอย่างที่กล่าวอ้างกันเลย มันแทบเป็นไปไม่ได้ที่ไทยจะบิดเบือนตัวเลข

การไปตรวจ หรือ ไปหาเรื่องตรวจไวรัสทั้งๆที่ยังไม่มีอาการหรือไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจึงเป็นแผนการกระทำที่สิ้นเปลือง ทั้งในทรัพยากรด้านการเงิน บุคลากร และเครื่องมือทางการแพทย์โดยใช่เหตุ ทางวงการสาธารณสุขของไทยจึงเลือกที่จะใช้วิธีการตรวจหาเฉพาะกลุ่มเสี่ยงเป็นหลักเท่านั้น

เพื่อเป็นการประหยัดเครื่องมือที่จำเป็น และไม่ผลาญทรัพยากรทางการแพทย์ไปโดยเปล่าประโยชน์จากการระดมตรวจแบบสุ่ม

ขอขอบพระคุณที่มาของแหล่งข่าว Blockdit ครับ https://www.blockdit.com/posts/5e8d7a2ff5a886478385aa5b

You may have missed